ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1360 คน
การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพคุณภาพสูง
นักวิจัย :
วิชัย เทียนถาวร , วณิชา ชื่นกองแก้ว , ลัดดา เหลืองรัตนมาศ , ภานุ อดกลั้น , พิชญ์สินี มงคลศิริ , กิตติพร เนาว์สุวรรณ , โรชินี อุปรา , ภัคณัฐ วีรขจร , สมตระกูล ราศิริ , นภชา สิงห์วีรธรรม ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 กรกฎาคม 2567

พนักงานเปลเป็นบุคลากรที่ให้บริการด่านหน้าของโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การปฏิบัติงานจึงต้องมีความรวดเร็ว ทันเวลา ถูกต้องและปลอดภัย สอดคล้องกับนโยบาย 3P safety นอกจากนี้ลักษณะการทำงานของพนักงานเปล มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้ออาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ป่วยและโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะพนักงานเปลในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพนักงานเปลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพพนักงานเปลในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูง รูปแบบการวิจัย เป็นวิจัยและพัฒนามี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะพนักงานเปล ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาหลักสูตรโดยจัดทำร่างหลักสูตรภายใต้แนวคิดของ Taba ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร และระยะที่ 4 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเปลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระยะที่ 1 เลือกโดยวิธีสุ่ม จำนวน 252 คน ระยะที่ 3 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 4 ภาค ภาคละ 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล 2) คู่มือ 3) วิดีโอ 4) แบบประเมินสมรรถนะพนักงานเปล 5) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการอบรมหลักสูตรฯ 6) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงานเปลต่อการเข้าร่วมอบรม 8) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะพนักงานเปลก่อนและหลังเข้ารับการอบรมด้วยสถิติทดสอบที (t- dependent test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะพนักงานเปลประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามสมรรถนะพนักงานเปล ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6-1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดของ Taba 7 ขั้นตอน และแนวคิดหลักสูตรภายใต้ฐานสมรรถนะองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย วัตถุประสงค์หลัก เนื้อหาสาระตามสมรรถนะ 6 โมดูล ได้แก่ การให้บริการตามมาตรฐาน สิทธิผู้ป่วย การบริการผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน ศิลปะและการสื่อสารในการให้บริการ การดูแลตนเองและสมรรถนะทางกาย นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับพนักงานเปลระยะเวลาจัดการอบรม 3 วัน ประกอบด้วยการบรรยาย และการฝึกทักษะปฏิบัติ 10 ทักษะ โดยแบ่งกลุ่มย่อยฝึกฐานต่างๆ 3 ฐาน ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรพบว่า ภายหลังเข้ารับการอบรมหลักสูตรฯ มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ค่า E1/E2 เท่ากับ 95.11/72.26 มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจของพนักงานเปลที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือความพึงใจด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x¯= 4.84, SD = 0.33) และ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและสถานบริการสุขภาพ เสริมสร้างพนักงานเปลให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศ โดยมีหลักสูตรที่ตรงตามระดับความเชี่ยวชาญทั้ง ระดับพื้นฐานและระดับสูง พัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระบบในทุกเขตสุขภาพ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพนักงานเปลในการทำงาน ผลักดันให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการพนักงานเปลที่ครอบคลุมตามภารกิจของพนักงานเปลรวมถึงการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ให้มีระบบบริหารงานพนักงานเปลที่มีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6112

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้