ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 860 คน
การศึกษาการกลายพันธุ์ของยีนด้วยวิธีการตรวจหาลำดับเบสของเอ็กโซมในกลุ่มอาการเนโฟรติกที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยเด็กไทย
นักวิจัย :
สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ , อนิรุธ ภัทรากาญจน์ , นันทวัน ปิยะภาณี , ปวรี ศรัยสวัสดิ์ , สุวรรณี วิษณุโยธิน , กุลวิภา ตันทนะเทวินทร์ , ณัฐิดา พงศ์วิไลรัตน์ , ภาคภูมิ ภูมิจิตร , สุรัสวดี พิทักษ์ลิมนุวงศ์ , กิติวรรณ โรจนเนืองนิตย์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
4 กรกฎาคม 2567

ที่มา : กลุ่มอาการเนโฟรติกแบบปฐมภูมิ (Idiopathic Nephrotic Syndrome, INS) เป็นโรคไตที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเด็ก การกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ในผู้ป่วยเด็กแรกเกิด และเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ การตรวจทางพันธุศาสตร์ด้วยวิธี Whole Exome Sequencing (WES) เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรค ปัจจุบันการตรวจ WES ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง และไม่สามารถเบิกจ่ายจากกองทุนสุขภาพทุกกองทุน ทำให้ผู้ป่วยเด็กเนโฟรติกที่โรคเกิดจากยีนกลายพันธุ์ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาแบบสหสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลของผู้ป่วยเด็กไทย วัตถุประสงค์ : 1) การตรวจ WES ในผู้ป่วยเด็กไทยที่เป็นโรคเนโฟรติกแบบปฐมภูมิเฉพาะกลุ่มที่อาจพบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคได้บ่อย 2) กำหนดข้อบ่งชี้ในการตรวจ WES ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยให้กับองค์กรวิชาชีพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเนโฟรติกมีสิทธิประโยชน์ในการเบิกจ่าย วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบสหสถาบันในโรงพยาบาล 14 แห่งทั่วประเทศไทย ทำการตรวจ WES ให้แก่ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเนโฟรติกที่เข้าตามเกณฑ์คัดเลือก หากพบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคด้วยวิธี WES จะทำการตรวจยืนยันลำดับเบสที่ผิดปกติในผู้ป่วย รวมทั้งบิดา มารดา ด้วยวิธี Sanger Sequencing ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 25 ราย ได้รับการตรวจ WES ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 อายุระหว่างแรกเกิดถึง 18 ปี เพศชาย จำนวน 14 ราย เพศหญิง จำนวน 11 ราย จำแนกเป็น congenital NS จำนวน 2 ราย infantile NS จำนวน 1 ราย Childhood NS จำนวน 22 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ และยากลุ่ม calcineurin inhibitor จำนวน 21 ราย และผู้ป่วย จำนวน 1 ราย เป็นโรคเนโฟรติกที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเนโฟรติกที่ไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ การตรวจ WES พบการกลายพันธุ์ของยีนก่อโรคในผู้ป่วย จำนวน 7 ราย ซึ่งได้ทำการตรวจยืนยันผลด้วยการทำ Sanger Sequencing แล้วทั้งหมด โดย congenital NS พบการกลายพันธุ์ของยีน จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 คือ WT1 และ NPHS1 สำหรับ infantile NS จำนวน 1 ราย พบการกลายพันธุ์ของยีน WT1 ส่วน childhood NS ขณะนี้ได้ทำการตรวจ WES แล้ว จำนวน 19 ราย พบการกลายพันธุ์ของยีน 4 ราย คือ PLCE1, ACTN4, COL4A5, SLC6A19 คิดเป็นร้อยละ 26.6 เทียบเคียงได้กับการศึกษาจากต่างประเทศ ผู้ป่วย จำนวน 1 รายเสียชีวิต และผล WES ทำให้แพทย์สามารถหยุดยากดภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วย จำนวน 5 ราย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6115

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้