ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 26 คน
การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดสวมใส่พร้อมระบบติดตามและแอปพลิเคชัน เพื่อพยุงกล้ามเนื้อและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสำหรับผู้สูงอายุ
นักวิจัย :
วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ , ศราวุธ เลิศพลังสันติ , เปริน วันแอเลาะ , วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ , บวรรัฐ วนดุรงค์วรรณ , กนกลักษณ์ ดูการณ์ , ธนรรค อุทกะพันธ์ , อรรถกร สุวนันทวงศ์ , พรพิพัฒน์ อยู่สา , ศิวพร ศรีมงคล , พิชิตพล เกิดสมนึก ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
20 มิถุนายน 2567

กลุ่มผู้สูงอายุล้วนเริ่มมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง มีภาวะทางกระดูกและข้อ อาจมีผลต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในระยะยาวและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะวิจัยได้ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ (Wearable Technology) ได้แก่ 1) เทคโนโลยีชุดสวมใส่พยุงกล้ามเนื้อ (Motion-assistive Exo-apparel) และ 2) เทคโนโลยีตรวจวัดการเคลื่อนไหวท่าทางแบบสวมใส่ได้ ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานในผู้สูงอายุ ซึ่งคณะวิจัยได้พัฒนาต้นแบบชุดสวมใส่พยุงกล้ามเนื้อ ที่ผ่านการทดสอบกับผู้สูงอายุกลุ่ม Active Aging จำนวน 24 คน ชุดสวมใส่ฯ ที่พัฒนารุ่นที่ 1 มีส่วนช่วยลดภาระการทำงานของ Rectus Abdominis ได้ถึง 33% อีกทั้งชุดสวมใส่ฯ สามารถลดอัตราการเผาพลาญพลังงานได้ 5.7% และชุดสวมใส่ฯ มีผลช่วยปรับการทรงท่า (Posture) ในบริเวณไหล่ สะบักและหลังได้ จากนั้นได้ปรับปรุงเพื่อให้ได้เป็นต้นแบบรุ่นที่ 2 และดำเนินการทดสอบด้านผลการใช้งานในระยะการใช้งาน 30 วัน พบว่า ชุดสวมใส่ฯ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและท่าทางในการเดินในระยะเวลา 30 วันที่ใช้ชุด จากการสำรวจความคิดเห็น กลุ่มตัวแทนผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อชุดในระดับที่ดี (ระดับ > 80%) และโดยรวมแล้วผู้สูงอายุมีความเห็นว่าชุดสวมใส่ฯ ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ และในบางรายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากนั้นชุดสวมใส่ฯ ได้รับการปรับปรุงเป็นรุ่นที่ 3 จากผลทดสอบเบื้องต้นให้ผลลัพธ์ในการเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ดี โดยเฉพาะ Rectus Abdominis อาจได้รับการลดภาระจากชุดสวมใส่ฯ ถึงประมาณ 74% ชุดสวมใส่ฯ ที่พัฒนามีความพร้อมในการขยายผลสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาเทคโนโลยีตรวจวัดการเคลื่อนไหวท่าทางแบบสวมใส่ได้ คณะวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวแบบสวมใส่ ที่มีขนาดเล็กและสามารถติดตั้งภายในต้นแบบชุดสวมใส่ฯ บริเวณกระดูกสันหลังส่วนอกและต้นขาด้านหน้า และ Motion Prediction Model ที่พัฒนาทำหน้าที่บ่งชี้ท่าทางการเคลื่อนไหว มีความแม่นยำอยู่ระหว่าง 96% ถึง 100% มากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 95% และสามารถคำนวณผลได้ในเวลา < 1 วินาที จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับต้นแบบชุดสวมใส่พยุงกล้ามเนื้อได้ต่อไป ส่วนแอปพลิเคชันที่ทำงานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา คณะวิจัยได้พัฒนาให้ทำงานร่วมกับต้นแบบอุปกรณ์วัดแบบสวมใส่ฯ ด้วยการสื่อสารผ่านบลูทูท (Bluetooth) และสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อทำท่าที่ผิดสุขลักษณะได้ภายใน 3 วินาที และมีความแม่นยำในการตรวจจับท่าทางที่ผิดสุขลักษณะอยู่ที่ 100% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ในวัตถุประสงค์โครงการ อุปกรณ์วัดแบบสวมใส่ฯ และแอปพลิเคชันได้ถูกนำไปทดลองใช้งานในสภาวะการใช้งานจริงโดยอาสาสมัคร และจาก User Feedback ที่ได้รับ คณะวิจัยได้นำมาปรับปรุงเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อย สามารถขยายผลและต่อยอดพัฒนาชุดสวมใส่เพื่อพยุงกล้ามเนื้อและอุปกรณ์วัดแบบสวมใส่และแอปพลิเคชันสำหรับผู้สูงอายุ อีกทั้งยังได้สร้างความร่วมมือกับบริษัทชุดชั้นในชั้นนำของประเทศ เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์และมีแผนที่จะทดสอบประสิทธิผลของเทคโนโลยีในผู้ใช้กลุ่มอื่นๆ ในลำดับต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6093

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้