ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 200 คน
การศึกษาจีโนมแบบบูรณาการและหลากมิติของเนื้องอกสมองกลีโอมา
นักวิจัย :
สิทธิ์ สาธรสุเมธี , พรสุข ชื่นสุชน , ภูมิ สุขธิติพัฒน์ , นิธิ อัศวภาณุมาศ , นพัต จันทรวิสูตร ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
25 มิถุนายน 2567

เนื้องอกสมองชนิด Glioma เป็นเนื้องอกที่มีการพยากรณ์โรคเลวที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์ การรักษามาตรฐานในปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัด การให้รังสีรักษาและเคมีบำบัด มีประสิทธิภาพจำกัดและมีอุปสรรคมากกว่ามะเร็งชนิดอื่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกสมองชนิด Glioma เกือบทั้งหมด เป็นผู้ใหญ่วัยทำงานและมีสุขภาพแข็งแรงมาก่อน ความเจ็บป่วยด้วยโรคกลุ่มนี้เป็นภาระต่อครอบครัว เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม การศึกษาด้านความผิดปกติของจีโนมนี้จะสร้างภูมิทัศน์ของจีโนมของมะเร็งสมองในผู้ป่วยไทยอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัย พยากรณ์โรคและการรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine) และมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ไม่เฉพาะต่อผู้ป่วย แต่ยังส่งผลดีต่อระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บชิ้นเนื้องอกสมองกลีโอมา จากผู้ป่วย จำนวน 32 รายซึ่ง ได้สกัด DNA และ RNA ส่งตรวจความผิดปกติของจีโนมด้วย Whole-Exome Sequencing (WES), RNA Sequencing และ DNA Methylation Array และวิเคราะห์ผล ซึ่งพบว่าในกลุ่ม Glioblastoma, IDH Wild-Type มีความหลากหลายของพันธุกรรม ได้แก่ มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR, PDGFR, TERT, PTEN, CDKN2A/B, MTAP, TP53 และพบมี Gene Fusions ได้แก่ FGFR3-TACC3 จำนวน 2 รายและ EGFR-SEPT14 จำนวน 1 ราย สำหรับ IDH-Mutant Glioma นั้น กลุ่ม Oligodendroglioma พบมี Co-Deletion ของ 1p และ 19q ทุกรายและการกลายพันธุ์ของยีน IDH, CIC, FUBP1, TERT, PIK3CA ส่วน astrocytoma นั้นมีความผิดปกติของยีน IDH, ATRX, TP53, CDKN2A/B และ MET นอกจากนี้การตรวจ DNA-Methylation Profiling ส่งผลให้เปลี่ยนการวินิจฉัย จำนวน 6 ในจำนวน 32 ราย (19%) ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพยากรณ์โรคและบ่งชี้ถึงการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี Long-Read (Nanopore) Sequencing เพื่อหา Copy Number Variation (CNV) ในการบ่งชี้สถานะของ 1p/19q Co-Deletion และ CDKN2A/B Homozygous Deletion ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการจำแนกชนิดและระดับ (Grading) ของเนื้องอกสมอง Glioma ชนิด IDH-Mutant ตาม WHO Classification ฉบับล่าสุดในปี 2021 ซึ่งผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Brain Pathology เดือนสิงหาคม 2566 สำหรับการศึกษาด้าน Digital Pathology แบบ Exploratory นั้น คณะผู้วิจัยทดลองศึกษา Immune Cells ในเนื้องอกกลีโอมาชนิดต่างๆ จำนวน 10 ตัวอย่าง ด้วย Digital Pathology พบว่า สามารถทำได้ และเบื้องต้นอาจพบมีความแตกต่างระหว่างเนื้องอก Glioma แต่ละชนิด และหากในอนาคตสามารถศึกษาวิจัยในเนื้องอกจำนวนมากขึ้น อาจสามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจีโนมแบบบูรณาการมากขึ้น เพื่อส่งผลในการวินิจฉัย พยากรณ์โรคและบ่งชี้ถึงการรักษาแบบมุ่งเป้าใหม่ได้แม่นยำมากขึ้นและอาจเพิ่มอัตราการอยู่รอดในผู้ป่วยบางรายได้อย่างชัดเจน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6099

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้