ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 30 คน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพจิตวิถีใหม่
นักวิจัย :
ฐิติพร สุแก้ว , นพพร ตันติรังสี , พยงค์ เทพอักษร , ภัทรหทัย ณ ลำพูน , นภชา สิงห์วีรธรรม , เยาวลักษณ์ มีบุญมาก , วันดี แสงเจริญ , สันติ ประไพเมือง , กีรติ พลเพชร , เพ็ญนภา กวีวงศ์ประเสริฐ , ดาวรุ่ง คำวงศ์ , อลิซาเบธ เคลลี่ ฮอม เทพอักษร , นิสารัตน์ สงประเสริฐ , รวิษฎา บัวอินทร์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
25 มิถุนายน 2567

ความเป็นมาและเหตุผล : การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของปัจจัยกำหนดสุขภาพจิตในช่วง “ความไม่ปกติใหม่ (New Abnormal)” ส่งผลให้ต้องมีการต้องประเมินสถานการณ์ระบบข้อมูลสุขภาพจิตและนวัตกรรมทางเลือกที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำกับติดตามผลกระทบต่อสุขภาพจิตประชากรโดยเฉพาะในสภาวะฉุกเฉิน ระเบียบวิธีการศึกษา : การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินการดำเนินงานตามนโยบายคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ออกแบบโดยกรมสุขภาพจิต แนวปฏิบัติของ The Consolidated Framework of Implementation Research (CFIR) เพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมตามแนวปฏิบัติของนโยบาย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อสถานะข้อมูลโรคซึมเศร้า (n= 194) และยืนยันประเด็นข้อค้นพบด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มประชากรทั่วไป (n=301) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานตามนโยบาย (n= 281) กระบวนการจัดทำข้อเสนอแนะทางนโยบายประกอบด้วยกระบวนการทบทวนขอบเขตงานวิจัย เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านประสบการณ์ใช้นวัตกรรมดิจิทัลในประเด็นสุขภาพจิตในประเทศกลุ่มรายได้น้อยถึงปานกลาง ข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นจะถูกนำมาประกอบใช้พัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ Nested Model โมเดลซ้อนทับสำหรับการออกแบบการสร้างภาพ (Visualization) ผลการศึกษา : ปัจจัยด้านความเข้มแข็งของชุมชน การกำหนดใช้ผลการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดการตรวจราชการและการให้ความสำคัญของผู้นำในทุกระดับเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จของกิจกรรมให้บริการสุขภาพจิตและการมีข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ในณะที่ความต้องการของผู้ใช้บริการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง การขาดทรัพยากรดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงนโยบายของผู้นำในอนาคตอาจส่งผลต่อความต่อเนื่องของข้อมูลสุขภาพจิตในอนาคต เพื่อให้เกิดการลงทุนที่ยั่งยืน ภาครัฐต้องลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลสุขภาพเพื่อเชื่อมข้อมูลอย่างไร้รอยต่อควบคู่กับทักษะผู้ปฏิบัติงานเพื่อใช้ประโยชน์ของฐานข้อมูลอย่างเต็มศักยภาพ สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยกำหนดสุขภาพจิตและแบบแผนการใช้ชีวิตประชาชนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อความจำเป็นในการประเมินการดำเนินงานตามนโยบายคัดกรองอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวชี้วัดการดำเนินงานและนโยบายส่งเสริมและรักษาสุขภาพจิตประชากรโดยไม่ทิ้งประชากรกลุ่มใดไว้ข้างหลัง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6101

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้