ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 187 คน
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566: ระยะที่ 1 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพ
นักวิจัย :
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ 1 , นภชา สิงห์วีรธรรม 2 , ดาวรุ่ง คำวงศ์ 3 , มโน มณีฉาย 4 ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 มิถุนายน 2567

การวิจัยแบบผสมวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผลกระทบทางสุขภาพที่เชื่อมโยงจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากร การจัดบริการสุขภาพ และการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลในพื้นที่ รพ.สต. และ อบจ. ในพื้นที่กรณีศึกษา 12 พื้นที่ ใน 6 จังหวัด คัดเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และ (2) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังเพื่อสังเคราะห์ชุดตัวชี้วัดและสารสนเทศตามห่วงโซ่ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล เชื่อมโยงการวัดผลการเข้าถึง การใช้บริการคุณภาพของการดูแล ผลลัพธ์ทางสุขภาพ และต้นทุนของการดูแล ที่เป็นสัญญาณเตือนความเสี่ยงของผลกระทบทางด้านสุขภาพเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและงานสาธารณสุข จากฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบประมาณ 2561-2565 เป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนการถ่ายโอน และข้อมูลในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเป็นรอบปีแรกของการถ่ายโอน ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า กรอบแนวคิดของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย (1) ผลลัพธ์ทางสุขภาพ (2) ต้นทุนของการดูแล (3) ผลลัพธ์งานสาธารณสุข (4) การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ (5) การได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ และการได้รับการดูแลรักษาทันเวลา (6) การดำเนินงานตามกรอบกิจกรรมและเป้าหมายของงานสาธารณสุข และ (7) ทรัพยากรและรูปแบบการบริหารจัดการ เป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปสู่สัญญาณเตือนที่จะใช้ในการติดตามประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ในระยะต่อไปได้ สถิติของตัวชี้วัดหลายตัวบ่งชี้ผลกระทบในเบื้องต้นได้ จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับของผลการดำเนินการ ความแตกต่างของแนวโน้มของผลการดำเนินการต่อเนื่อง และความแตกต่างของความเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มของผลการดำเนินการภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. กระทรวงสาธารณสุข สปสช. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันทบทวน วางแผนและออกแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสุขภาพต่อประชาชน อันเป็นผลจากการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. รวมถึงควรทบทวนและออกแบบระบบในการกำกับดูแลระบบสาธารณสุขในพื้นที่ด้วย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6102

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้