ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 24 คน
ความรุนแรงและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย
นักวิจัย :
พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ 1 , ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ 2,3 , วรรณชนก ลิ้มจำรูญ 2 , เบญจวรรณ อิ้งทม 2 , ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย 2,3,4 , ฐิติกร โตโพธิ์ไทย 3,4,5 ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 มิถุนายน 2567

ภูมิหลังและเหตุผล: การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ก่อให้เกิดวิกฤติทางสุขภาพที่สำคัญ โดยมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงจนถึงการเสียชีวิต ผู้ที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในประเทศไทย และค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรง ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานทั่วประเทศของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย โดยผลลัพธ์ที่ต้องการในการศึกษานี้คือระดับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด (ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย และอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก) ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือลักษณะของผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย อายุ สัญชาติ จำนวนวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับ และอายุครรภ์ขณะเกิดการติดเชื้อ การวิเคราะห์ใช้การถดถอยโลจิสติกส์แบบหลายตัวแปรเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านี้และความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ผลการศึกษา: การศึกษานี้ วิเคราะห์ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 12,579 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย คือร้อยละ 87 ส่วนกลุ่มที่มีอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมากมีร้อยละ 13 หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสสูงสุดที่จะมีอาการรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก (adjusted odds ratio: AOR = 1.79, 95%CI: 1.44, 2.24) หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ใช่สัญชาติไทยมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์สัญชาติไทย (AOR = 1.17, 95%CI: 1.03, 1.34) ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 3 ครั้ง มีโอกาสต่ำที่สุดในการมีอาการรุนแรง (AOR = 0.16, 95%CI: 0.10, 0.27) นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์มีโอกาสสูงที่จะมีอาการรุนแรง (AOR = 1.52, 95%CI: 1.22, 1.90) สรุป: การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และ หลังคลอดในประเทศไทย แม้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย มาตรการป้องกันการติดเชื้อและการลดความเสี่ยงของอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 ยังมีความสำคัญ การศึกษานี้พบว่า อายุมารดา สัญชาติ การฉีดวัคซีนโควิด-19 และช่วงการตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ผลการศึกษานี้ยืนยันความสำคัญของมาตรการป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เหมาะสมระหว่างการระบาดของโควิด-19


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6106

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้