งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนประสบการณ์ของผู้ให้บริการคลินิกทันตกรรมเอกชนในกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการคลินิกในช่วงวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกคลินิกทันตกรรมเอกชน 19 แห่งแบบเจาะจงเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การศึกษาพบว่า คลินิกทันตกรรมพบกับความท้าทายในการจัดการผู้ป่วยเนื่องจากแนวปฏิบัติที่หลากหลาย ในช่วงวิกฤติการระบาด การตรวจหาไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่จำเป็นก่อนให้การรักษาทันตกรรม ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของคลินิกและการปฏิบัติงานข้างเก้าอี้ คลินิกเน้นลดการกระจายของละอองฝอยโดยการปรับปรุงระบบระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ และการใช้เครื่องกรองอากาศ HEPA (high efficiency particulate air) และเครื่องดูดละอองฝอยภายนอก (extraoral suction: EOS) มีการใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น การสวมเสื้อคลุมกันน้ำและหน้ากากป้องกันละอองฝอย ทั้งใส่หน้ากากผ่าตัดสองชั้น หน้ากาก N95 หรือการใส่หน้ากากทั้งสองชนิดพร้อมกัน การศึกษายังพบว่าเจ้าของคลินิกส่วนหนึ่งรู้สึกว่าแนวปฏิบัติมีความล้นเกิน (excessive) หรือไม่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบระบายอากาศ กลุ่มตัวอย่างเสนอว่าควรมีคำแนะนำที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง รวมถึงมีการสนับสนุนที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานคลินิกทันตกรรม เพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุดสำหรับสาธารณะและวิชาชีพทันตกรรมในอนาคต โดยรวมแล้วการศึกษาเน้นความสำคัญของมาตรการความปลอดภัยของคลินิกทันตกรรมในช่วงวิกฤติการระบาดของโควิด-19 และความจำเป็นของการสนับสนุน และการควบคุม เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของสาธารณชนและการให้บริการทันตกรรมต่อไป
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้