งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีความร่วมมือเพื่อยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่ส่งเสริมสุขภาพไปสู่มาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบกลุ่มบำบัดนิโคติน การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อกำหนดมาตรฐาน ทั้ง 2 นี้ จึงเป็นประโยชน์ต่อสถานพยาบาลที่มีแผนดำเนินการขอรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบในกลุ่มภาวะติดนิโคติน ในการศึกษานี้มีการเปรียบเทียบข้อแตกต่างมาตรฐานทั้ง 2 เป็น 3 กรณีคือ 1) เอกสารในการขอรับรอง 2) จำนวน และรายละเอียดของข้อกำหนด และ 3) เกณฑ์การพิจารณา ผลการศึกษาพบว่า 1) เอกสารในการขอรับรองมีความแตกต่างกันทั้งจำนวนและรายการ โดยมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบจะมีรายการเอกสารมากกว่า 2) ข้อกำหนดของสองมาตรฐานมีจำนวนเท่ากันแต่ต่างกันในรายละเอียดของเนื้อหา โดยมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่มีความจำเพาะในกระบวนการและผลลัพธ์ของการเลิกบุหรี่ ส่วนข้อกำหนดของมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบเน้นกระบวนการดูแลผู้ป่วย และระบบงานสำคัญ โดยเน้นการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) เกณฑ์การพิจารณาอ้างอิงมาตรฐานตาม scoring guideline 1-5 คะแนน เหมือนกันทั้ง 2 มาตรฐาน โดยมาตรฐานโรงพยาบาล/สถานพยาบาลปลอดบุหรี่แยกเกณฑ์ มาตรฐานข้อที่ 1-7 กับมาตรฐานข้อที่ 8 และยังมีการคำนวณคะแนนด้วยค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละข้อมาตรฐาน ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำในขณะที่มาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบกำหนดให้ตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย ควรได้คะแนนมากกว่า 3.0 โดย สถานพยาบาลควรเริ่มจาก 1) จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการที่ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) จัดทำแผนปฏิบัติในการขอรับรอง 3) กำหนดตัวชี้วัดพร้อมกำหนดค่าเป้าหมาย 4) ส่งเสริมการพัฒนางานด้วยผลงานวิชาการ ทั้งนี้สำหรับสถานพยาบาลที่เริ่มต้นใหม่อาจจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ได้เห็นผลลัพธ์กระบวนการดูแลและกระบวนการพัฒนาของสถานพยาบาล
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้