ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 251 คน
การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
เพ็ญนภา ศรีหริ่ง , ทิพาพร กาญจนราช , ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง , อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ , วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี , บัณฑิต นิตย์คำหาญ , วีรพงษ์ ธัมโชตัง , ศุภวิชญ์ ภูวฤทธิ์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
28 มิถุนายน 2567

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสถานการณ์การบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ความพร้อม ประสิทธิภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ประกอบด้วย เภสัชกร จำนวน 300 คน ผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. สังกัด อบจ. จำนวน 808 คน และประชาชน จำนวน 400 คน และมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 170 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร เภสัชกร ผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มย่อย และวิเคราะห์ปัจจัยโดยใช้สมการถดถอยโลจิสติกส์พหุนาม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.8 ± 9.53 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในเขตสุขภาพที่ 7, 10 และ 1 มากที่สุด หลังการโอนเปลี่ยนไปสังกัด อบจ. พบว่า รพ.สต. มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงเบิกยาและเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลแม่ข่าย มีเพียงบางแห่งที่มีการจัดซื้อเอง ระยะเวลาในการสำรองนาน 30 วัน มากที่สุด รองลงมา คือ 7-15 วัน และ 60 วัน มีค่ามัธยฐานของยอดคงคลัง 13,196.05 บาท มากที่สุด คือ 899,650 บาท ยอดคงคลังน้อยที่สุด คือ ไม่มีการสำรองยาไว้ในคลังเวชภัณฑ์เลย เภสัชกรมีการเวียนไปที่ รพ.สต. เพื่อให้บริการเภสัชกรรมเพียงบางครั้งและมีการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพปฏิบัติได้น้อยครั้ง การสนับสนุน อบจ. อยู่ในระดับที่น้อย จากคะแนนเต็ม 5 มีค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนในด้านการบริหารจัดการด้านยา เท่ากับ 2.38 ± 1.12 และในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เท่ากับ 2.26 ± 1.26 โดยผู้ปฏิบัติมีผลคะแนนประเมินมากกว่าในมุมมองของเภสัชกรครึ่งหนึ่งของทั้งหมดมีความพร้อมบริหารจัดการระบบบริการด้านยาในภาพรวม โดยมีความพร้อมในการทำแผนการจัดซื้อยา ร้อยละ 36.7 และการรายงานข้อมูลการรับจ่ายยาที่เป็นปัจจุบัน ร้อยละ 29.3 ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ร้อยละ 54.0) โดยประมาณ 1 ใน 3 มีความพร้อมตรวจสถานประกอบการเชิงรุกในพื้นที่และแนวทางการตรวจสถานที่ รวบรวมพยานหลักฐานและการเขียนรายงาน (ร้อยละ 25.0) ในด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ พบว่า มีประสิทธิภาพในระดับมากถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.7 และร้อยละ 43.1 ตามลำดับ โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบบริการด้านยา ได้แก่ ทัศนคติ ความพึงพอใจ การสนับสนุนของเภสัชกรสังกัดโรงพยาบาลแม่ข่าย ความพร้อมและการปฏิบัติตามแนวทาง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้แก่ ความรอบรู้ ความพร้อมในการดำเนินงานและระดับความพึงพอใจ ผลการศึกษาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา พบว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการเภสัชกรรมได้ทุกครั้ง ยังขาดเทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการด้านยาและในการจ่ายยาที่ยังไม่มีขั้นตอนของการตรวจสอบซ้ำเพื่อป้องกันความผิดพลาดก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย ในมุมมองของประชาชนผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-86 ปี ค่ามัธยฐานของอายุ เท่ากับ 56 ปี เคยไปรับบริการที่ รพ.สต. เฉลี่ยเท่ากับ 5.40 ± 4.26 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2565 และ ลดลงเป็น 3.92 ± 3.49 ครั้งในปี พ.ศ. 2566 ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านจัดจ่ายยาของ รพ.สต. อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สรุปได้ว่า ในช่วงเริ่มต้นของ รพ.สต. สังกัด อบจ. มีแนวโน้มที่จะใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการ ในแต่ละกลุ่มจังหวัดมีความพร้อมและประสิทธิภาพที่แตกต่าง แม้ว่าจะมีทัศนคติที่ดี แต่การรายงานเกี่ยวกับยายังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องให้เป็นปัจจุบัน และมีความไม่พร้อมในขั้นตอนการทำแผนการจัดซื้อยา การตรวจเฝ้าระวังสถานประกอบการเชิงรุก การบังคับใช้กฎหมายและการจัดการเรื่องร้องเรียน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของทีมผู้ปฏิบัติและเครือข่ายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อทั้งการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีทัศนคติ การสนับสนุนของเภสัชกรสังกัด โรงพยาบาลแม่ข่ายและการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการบริหารจัดการระบบบริการด้านยา นอกจากนี้ การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยายังไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนทุกครั้ง จึงควรมีเภสัชกรเป็นพี่เลี้ยงส่งต่อองค์ความรู้ เทคนิควิธีการอบรมพัฒนาทักษะเชิงวิชาการ ผ่านการทบทวนปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกัน นิเทศ กำกับ ติดตาม รวมทั้งอาศัยเครือข่ายดั้งเดิมที่มีอยู่ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ สร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน ด้วยสัมพันธภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องควบคู่กับด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6111

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้