ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 72 คน
การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่
นักวิจัย :
อะเคื้อ อุณหเลขกะ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
16 พฤษภาคม 2567

การขาดยารักษาวัณโรค (Tuberculosis, TB) ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วยวัณโรค ทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา การรักษายุ่งยากยิ่งขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โดยดำเนินการร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 15 แห่งจากทุกภาคจำนวน 84 คน ประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ (Collaborative Quality Improvement) ของสถาบันพัฒนาบริการสุขภาพ (The Institute for Healthcare Improvement [IHI]) ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกระบวนการพัฒนาระบบ นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในโรงพยาบาล และประเมินประสิทธิผลของระบบโดยเปรียบเทียบอัตราการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ก่อนและหลังโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ และประเมินความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) การมีคณะทำงานวัณโรค (TB Team) ของโรงพยาบาล ประกอบด้วย อายุรแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด (Mr.TB) พยาบาลเวชกรรมสังคมหรือพยาบาลประจำคลินิกวัณโรค (TB Manager) เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการและนักระบาดวิทยา 2) การจัดการสิทธิการรักษาผู้ป่วย 3) การคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดยา 4) การให้คำปรึกษาและสนับสนุน และ 5) ระบบติดตามและส่งต่อผู้ป่วย ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้น พบว่า โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 92.86 มีอัตราการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในปี พ.ศ. 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับอัตราในปี พ.ศ. 2561-2565 โรงพยาบาล 2 แห่ง ไม่พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ขาดยา บุคลากรของโรงพยาบาล ร้อยละ 62 (52/84 คน) ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบที่พัฒนาขึ้น ร้อยละ 80.77 เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ระบบป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และเกิดผลดีต่อผู้ป่วยและครอบครัว ร้อยละ 73.08 และร้อยละ 71.15 เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า สามารถนำไปเผยแพร่แก่โรงพยาบาลอื่นๆ และสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้อัตราการขาดยาลดลง ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก บุคลากรเห็นว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงพยาบาลต้องดำเนินการมีส่วนช่วยให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คลินิกวัณโรคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในโรงพยาบาลมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับบุคลากรใหม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรมีการประเมินผลการนำระบบการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งเป็นระยะ ควรมีอัตรากำลังบุคลากรสหสาขาวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรคที่เหมาะสมและปฏิบัติงานเต็มเวลา มีการพัฒนาสื่อเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ตรงตามกลุ่มผู้ป่วยและส่งเสริมให้คลินิกวัณโรคมีสถานที่ที่ได้มาตรฐานเป็น One Stop Service อย่างแท้จริง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6061

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้