ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 65 คน
การออกแบบและเตรียมชุมชนในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตสังคมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยมาตรการเพื่อนช่วยเพื่อน และละครประยุกต์ เพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมพลัง
นักวิจัย :
วัชรา ริ้วไพบูลย์ , ดวงดาว ศรียากูล , นภาพร สันทบ , ธิดารัตน์ นงค์ทอง ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
21 พฤษภาคม 2567

โครงการนี้เป็นการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องของการพัฒนาเชิงระบบที่เพิ่มการเข้าถึงการบำบัดฟื้นฟูเยาวชนในโรงเรียนที่ใช้สารเสพติด ซึ่งการวิจัยพัฒนาในระยะแรกชี้ว่าการใช้แนวทางสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถนะด้านจิตสังคมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยมาตรการการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ มีความเป็นไปได้และมีแนวโน้มของความสำเร็จ แต่การทดลองดำเนินการในโรงเรียนอย่างเป็นระบบกลับพบความยากลำบาก ที่จะก้าวข้ามวิถีการสื่อสารและการเรียนรู้ในโรงเรียนแบบเดิมๆ อันเป็นข้อจำกัดของทั้งครูและนักเรียน ซึ่งต้องการวิธีคิด มุมมองและทางเลือกเชิงบวกสำหรับการสื่อสารและเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะออกแบบหรือหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูแกนนำในโรงเรียนที่สนใจขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตสังคม ด้วยการนำแนวคิดศาสตร์ละครประยุกต์มาใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะนักเรียนแกนนำ ในการทำบทบาทเพื่อนช่วยเพื่อน และประมวลผลการใช้ศาสตร์ละครประยุกต์ในการเพิ่มความสร้างสรรค์และเสริมพลังการเรียนรู้ ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 5 คน จากคลินิกสุขภาพวัยรุ่นของโรงพยาบาลจังหวัด ครูแกนนำ จำนวน 5 คน ร่วมกับนักเรียนแกนนำ จำนวน 5 คน จากโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง ในพื้นที่ที่ดำเนินการวิจัยพัฒนาระยะแรกร่วมกันมาแล้ว ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนแกนนำ ควรปรับกระบวนการเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะการใช้เทคนิคละครประยุกต์ให้ครูและนักเรียนแกนนำไปพร้อมกัน เพื่อให้ได้เครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของกิจกรรมหรือโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน 2) พัฒนาแกนนำนักเรียนต่อยอด เพื่อให้ทำบทบาทเพื่อนช่วยเพื่อน ด้วยการฝึกทักษะออกแบบกิจกรรมและการสร้างพื้นที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือละครประยุกต์ที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ทั้งนี้ มีครูแกนนำเป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยสามารถเพิ่มจำนวนนักเรียนแกนนำใหม่ได้ประมาณ 3-4 เท่าตัวของแกนนำนักเรียนที่อบรมพร้อมครูแกนนำมาแล้ว ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน แนวทางการพัฒนาครูและนักเรียนแกนนำในโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าเทคนิคต่างๆ ของศาสตร์ละครประยุกต์ ช่วยให้การสื่อสารเรื่องราวที่ซับซ้อนและพูดออกมาได้ยากเป็นไปได้มากขึ้น ช่วยทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ผ่อนคลายและผู้เรียนสนุกสนานไปกับการเรียนรู้ ให้ความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ทั้งนี้ สามารถใช้ร่วมกับแนวคิดและทักษะการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน นอกจากนั้น การสร้างการเรียนรู้เชิงทดลองในลักษณะการสร้างห้องเรียนจำลอง ช่วยทำให้ครูและนักเรียนแกนนำมีประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ และมีจินตนาการในการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตสังคมในโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6065

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้