ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 72 คน
บทบาทหน้าที่เชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับภารกิจให้บริการดูแลสุขภาพชุมชน กรณีจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ
นักวิจัย :
สถาพร แสงสุโพธิ์ , นพวรรณ บุญธรรม , วันชาติ นภาศรี , ชวิน คำบุญเรือง , พงศพล มหาวัจน์ , รุ่งอรุณ หน่อคำ , อโนชา ปาระมีสัก , รวิษฎา บัวอินทร์ , สุวพิมพ์ จันทร์ทิพย์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
21 พฤษภาคม 2567

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ ปัญหา ความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ภาคเหนือ ศึกษาระบบ กลไก บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีความพร้อม ตลอดจนศึกษาผลกระทบหลังการถ่ายโอน พร้อมกับการเสนอผลวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกิดประสิทธิผลต่อการปรับปรุงระเบียบบทบัญญัติต่างๆ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นการทำวิจัยแบบผสมผสานมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยา จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดอุทัยธานี ผลการศึกษา 1) สถานการณ์สุขภาพโดยรวม พบว่า กลุ่มโรคที่มีอันดับสูงสุด คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคทั่วไป โรคไขมันในเลือดและโรคหัวใจ ประเภทบริการสุขภาพที่ประชาชนมารับบริการมากที่สุด ได้แก่ การตรวจสุขภาพ การรับวัคซีน การคัดกรองโรค การให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ การบริการผู้สูงอายุและบริการอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ก่อนและหลังการถ่ายโอน พบว่า ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสุขภาพ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในแต่ละพื้นที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งสะท้อนระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสุขภาพของ อบจ. ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงด้านประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง 2) ด้านบทบาทอำนาจหน้าที่ของ อบจ. พบว่า ผู้บริหารควรทบทวนการปรับโครงสร้าง กำหนดทิศทางและกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย มีการเตรียมความพร้อมด้านปัจจัย สิ่งสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งก่อนและหลังการถ่ายโอน ภายใต้แนวคิด “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ประกอบด้วย (1) ระบบบริการสุขภาพระดับตำบล (2) ระบบบริหารจัดการงบประมาณ (3) ระบบอาคารและสิ่งแวดล้อม (4) ระบบบริหารงานบุคคล (5) ระบบมาตรฐานคุณภาพการบริการ (6) ระบบยา อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (7) ระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร (8) ระบบติดตามและประเมินผล 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ ได้เสนอว่า 3.1) การพัฒนาระบบบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพตามภารกิจ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development, HRD) การจัดสรรงบประมาณ และการพัฒนาความร่วมมือกับ รพ.สต. แบบเครือข่าย 3.2) การสร้างกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนสู่เมืองสุขภาวะที่มีการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับคนทุกช่วงวัย การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับแหล่งอาหารและการผลิตเพื่อสุขภาพ เพื่อการออกกำลังกายและเป็นพื้นที่เรียนรู้ของประชาชน ซึ่งทุกคนได้ร่วมกันสร้าง ผลการวิจัยยังระบุด้วยว่า ปัจจัยทางสังคมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดสุขภาพ มีที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ผู้คนเกิด ใช้ชีวิต เรียนรู้ ทำงานและเล่น ซึ่งส่งผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพ ความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้คนในวงกว้าง 3.3) ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ พระราชบัญญัติการจัดสรรงบประมาณ, ระเบียบค่าตอบแทนบุคลากร, ระเบียบบริหารงานบุคคลท้องถิ่น ระเบียบกระทรวงการคลัง และพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6066

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้