ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 337 คน
การออกแบบหลักสูตรออนไลน์เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด
นักวิจัย :
ปัทมา ต.วรพานิช , สุรชัย เล็กสุวรรณกุล , อริยา จินดามพร , นวพร วรศิลป์ชัย , รองพงศ์ โพล้งละ , กษมา มโนธรรมเมธา , ณัฐพงศ์ เหล็งศิริ , กษิดิศ ป้องขันธ์ , นิติพงศ์ เพิ่มพลัง ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 พฤษภาคม 2567

โรคติดเชื้อพิธิโอซิส เกิดจากการติดเชื้อ Pythium Insidiosum ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคในกลุ่มที่คล้ายเชื้อราแต่ไม่ใช่เชื้อรา จัดอยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกับไดอะตอม Pythium spp. ถูกค้นพบเป็นการติดเชื้อในพืชมาก่อน ต่อมามีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ เมื่อ ค.ศ. 1983 และในที่สุดมีรายงานยืนยันว่าก่อโรคในคนได้ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นผู้ป่วยในประเทศไทย ซึ่ง Pythium spp. มักปนเปื้อนอยู่ในดินและน้ำทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เขตร้อนชื้น และมีคุณสมบัติสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้ไปเกาะยังเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่นำไปสู่การติดเชื้อเกิดเป็นแผลเนื้อตาย และหากติดเชื้อที่หลอดเลือดนำไปสู่ผนังหลอดเลือดแดงอุดตันหรือโป่งพองทำให้อวัยวะบริเวณนั้นขาดเลือดตามมา ในเวลาต่อมามีรายงานผู้ป่วยจากประเทศต่างๆ เป็นระยะ นับถึงปี ค.ศ. 2021 รวมแล้ว จำนวน 771 ราย ซึ่งร้อยละ 94.3 เป็นผู้ป่วยจากประเทศไทยและอินเดีย ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการติดเชื้อในหลอดเลือด ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดทั่วโลกเป็นผู้ป่วยจากประเทศไทย แต่เนื่องจากช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีด้านการจำแนกเชื้อยังไม่ก้าวหน้า ทำให้การยืนยันวินิจฉัยทำได้อย่างจำกัด ส่งผลทำให้สถิติในอดีตมีประมาณอุบัติการณ์โรคพิธิโอซิสในประเทศไทยเพียง จำนวน 10 รายต่อปี ทำให้เสียโอกาสในการศึกษาเกี่ยวกับ การดำเนินโรค สายพันธุ์ของเชื้อ ความไวต่อยาต้านเชื้อโรคประเภทต่างๆ ข้อมูลในระยะยาวทางคลินิก ฯลฯ ทำได้จำกัดมาก สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคนี้ในระดับนิสิตแพทย์ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากจัดว่าเป็นโรคพบน้อย ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ขาดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคนี้และประชาชนไม่รู้จักโรคนี้ ปัจจุบันการรักษาที่ประสบความสำเร็จยังคงเป็นการตัดส่วนที่ติดเชื้อออกให้หมด ร่วมกับการให้ยาต้านเชื้อหลายขนาน หากเป็นการติดเชื้อในหลอดเลือด จึงเกิดการผ่าตัด ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต โดยความสูญเสียจะยิ่งเกิดมากขึ้น หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ล่าช้า หรือแพทย์ให้การวินิจฉัยได้ล่าช้า ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้และประสบการณ์ในการวินิจฉัย ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้ การสร้างหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อพิธิโอซิสในหลอดเลือด จึงนับเป็นก้าวแรกของระบบการศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย ได้สร้างความตระหนักรู้ อีกทั้งมีการขยายองค์ความรู้ทั้งในบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์และนักเทคนิคการแพทย์ที่ต้องจำแนกเชื้อก่อโรคนี้ และแพทย์ที่ต้องให้การรักษา เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสม และทันท่วงที แม้เป้าหมายหลักอาจจะยังมิได้บรรลุผลจากการศึกษาครั้งแรก แต่การสร้างหลักสูตรออนไลน์นี้จะนำไปสู่การกระตุ้นและความสำคัญของโรคนี้ ทั้งแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้รู้จักโรคนี้มากยิ่งขึ้น และอาจช่วยลดความล่าช้าในการยืนยันผลการวินิจฉัยได้ในอนาคต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6070

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้