ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 574 คน
การประเมินประสิทธิผลและการวางแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง: กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว)
นักวิจัย :
ชื่นจิต ชาญชิตปรีชา , Bond, Alan , Chalalai Hanchenlaksh , Nalin Sittitoon , Parach Runglek , Pichayut Viwatrujirapong ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 พฤษภาคม 2567

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินกระบวนการและผลกระทบของงานวิจัย และประเมินกระบวนการวิจัยของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง:กรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว การศึกษานี้ใช้หลักการของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change, TOC) ในการออกแบบกรอบการประเมินกระบวนการและผลกระทบงานวิจัย โดยเน้นการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล ประกอบกับการวิเคราะห์องค์ประกอบของบริบทของกรณีศึกษา โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย (กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว) โดยทีมประเมินได้ทบทวนและวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อพิสูจน์ความแม่นยำ หรือ Re-Structure Theory of Change ของโครงการวิจัยกรณีศึกษาตามองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การระบุ Long-Term Change หรือ Development Impact 3) Sequencing of Events และ 4) การระบุสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อการบรรลุเป้าหมาย (ข้อสันนิษฐาน หรือ Assumptions) และพัฒนาความชัดเจนของ Assumptions เพื่อมุ่งสู่การบรรลุผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่ปรารถนา (Desirable Changes) องค์ประกอบสำหรับการประเมินโครงการวิจัย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ กรอบการประเมินกระบวนการ (Procedural Audit Framework) และกรอบการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัย (Research Impact Assessment (RIA) Framework) และแตกย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ Checklist ข้อคำถามสำหรับการประเมินกระบวนการวิจัย (Procedural Audit Framework Checklist) ตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และ Checklist ข้อคำถามสำหรับกรอบการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากรอบการประเมินฯ และการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 9 ครั้ง การสัมภาษณ์ จำนวน 18 ครั้ง กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 66 คน และการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 ครั้ง ผลการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัยโดยใช้กรอบการประเมินฯ ตามหลักทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง พบว่า ในการสร้างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนที่จะมุ่งให้เกิด Active Citizen และความรอบรู้ในชุมชนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหรือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น (Assumptions) ประกอบด้วย การมีทีมเฝ้าระวังฯ ที่มีทักษะในการเฝ้าระวังผลกระทบฯ ที่มีจำนวนเพียงพอ และเกิดอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมกลายเป็น Active Citizens ที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแนวทางที่คาดหวังของระบบเฝ้าระวังฯ ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติทีมวิจัยได้มีการจัดอบรมทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน และมีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์พลเมืองมาใช้ในการผลิตความรู้ร่วม เพื่อนำไปสู่การสร้างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนเพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรมนั้น จะต้องอาศัยสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น (Assumptions) คือ 1) มีฐานข้อมูลของชุมชนที่ประกอบด้วยข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อมูลการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังฯ 2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง – เกิดการใช้ข้อมูลในการจัดการและลดความเสี่ยง (ข้อมูลมีความเพียงพอและเป็นที่ยอมรับในการพิจารณาระดับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการใช้ข้อมูลในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามบทบาทของหน่วยงาน) และ 3) Guidebook/Factsheet ช่วยเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยปัจจัยสนับสนุนต่อการเกิดระบบเฝ้าระวังฯ ที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ได้แก่ 1) การที่มี Active Citizen เป็นตัวหลักในการดำเนินการ 2) มีงบประมาณและค่าตอบแทนในการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังฯ 3) การมีหน่วยงานหรือผู้ประสานงานในการดูแลเครื่องมืออย่างต่อเนื่องเพื่อการซ่อมแซมกรณีเครื่องมือเกิดขัดข้อง 4) มีระบบ Active System ที่พัฒนาถึงจุดที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User Friendly) และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบ เพื่อการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเพียงพอ 5) มีองค์ความรู้สำหรับชุมชนเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การสร้างความรู้และความตระหนักต่อปัญหาและผลกระทบ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เครื่องมือและแนวทาง (Tools & Guidelines) ควรสร้างโดยชุมชนตามบริบทชุมชน เพื่อให้ชุมชนเรียนรู้และทำด้วยตนเองได้ 6) มีการวิเคราะห์ชุมชน รวมถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่จะได้รับจากการดำเนินการของระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนสำหรับการสร้างระบบข้อมูลความรู้ของชุมชนที่เข้าถึงง่าย (Information System) และการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล (Data Driver Culture) ผลการศึกษา พบว่า ทีมวิจัยได้อบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน พร้อมทั้งมีการอบรมกการผลิตสื่อวิดีทัศน์เพื่อการสื่อสารความรู้ในการเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อการสื่อสารข้อมูลความรู้ดังกล่าว ส่วนการเก็บข้อมูลจริงนั้น อาจยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบและยังขาดความต่อเนื่องของการเก็บข้อมูล ข้อมูลบนระบบจึงประกอบด้วยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลจากชุมชนบางส่วน ทั้งนี้ ในการดำเนินการวิจัยของชุดโครงการหงสาในระยะที่ 2 มีโอกาสที่จะพัฒนาระบบข้อมูลและใช้งานจริงให้ครอบคลุมกลุ่มและหน่วยงานได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การที่จะเกิดการสร้างระบบข้อมูลความรู้ของชุมชนและการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลนั้น จะต้องมีเงื่อนไข (Assumptions) ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน ได้แก่ 1) การเก็บข้อมูลนั้นยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นประจำ หากขาดกำลังคน เนื่องด้วยการเจ็บป่วย หรือ การหยุดพักผ่อน และ 2) ชุมชนให้ความสำคัญกับข้อมูลของระบบเฝ้าระวังฯ การสร้างพื้นที่ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า เกิดการสร้างพื้นที่ความร่วมมือที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังหรือเกิดขึ้นเฉพาะในส่วนของทีมวิจัยเองที่ผู้เชี่ยวชาญได้มีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งการสังเกตและคาดการณ์ผลกระทบตามวัตถุประสงค์วิจัยของโครงการย่อยต่างๆ ภายใต้ชุดโครงการหงสา มีระบบ Digital Platform (C-Site Application) สำหรับการรวบรวมข้อมูลโดยทีมนักวิจัยและทีมเฝ้าระวังอาสาสมัครจากโรงเรียนและชุมชน ซึ่งในการใช้งานระบบนั้น ช่วงแรกของการดำเนินการวิจัยของชุดโครงการอยู่ในระหว่างการพัฒนาในเรื่องของความง่ายและความคล่องตัวในการเข้าถึงระบบข้อมูล ทั้งนี้ ความง่ายของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้ประโยชน์ข้อมูลบนฐานข้อมูลนั้นพบว่ายังมีข้อจำกัดทางเทคนิคอยู่บ้าง นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว การเข้าถึงข้อมูลยังมีข้อจำกัดเนื่องจากยังไม่ใช่ข้อมูลเปิด (Open Data) ในการสร้างพื้นที่ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประสบความสำเร็จที่ช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือ ผลกระทบที่ต้องการนั้นจำเป็นต้องดำเนินการภายใต้สิ่งที่จะต้องมีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น (Assumptions) ได้แก่ 1) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย 2) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการติดตามตรวจสอบผลกระทบทางสุขภาพ โดยผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในระดับท้องถิ่นใช้ข้อมูลกรณีจำเป็นต้องมีการดำเนินการบางอย่างในการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยง รวมถึง 3) มีการส่งต่อข้อมูลและเกิดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลโดยโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน (เดือน พฤษภาคม 2567) มีแนวโน้มที่ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปพิจารณาในระดับคณะทำงานของจังหวัดน่าน แต่ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้นในการสร้างความเข้าใจในข้อมูลร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากการประชุมของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่านร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และทีมนักวิจัย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6072

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้