ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 109 คน
ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา การตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและภาระงบประมาณของเจ้าภาพกองทุนต่างๆ
นักวิจัย :
วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย , เกรียง ตั้งสง่า , ยศ ตีระวัฒนานนท์ , Wang, Yi , Budsadee Soboon , Wannisa Theantawee , Jutatip Laoharuangchaiyot , Thanakrit Mongkolchaipak , Thanisa Thathong , Nakamura, Ryota ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
5 เมษายน 2567

บทนำ : มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมูลค่าที่เหมาะสมของเพดานความคุ้มค่า (Cost-Effectiveness Threshold, CET) ทั่วโลก หลายประเทศรวมทั้งสหราชอาณาจักรและประเทศไทยได้รับคำขอว่า CET ปัจจุบันต่ำเกินไปและควรเพิ่มขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีการกำหนด CET ที่ชัดเจนและมีการปรับเพิ่ม CET ถึง 2 ครั้ง ประสบการณ์ของประเทศไทยจะช่วยตอบคำถามได้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการเพิ่ม CET โดยข้อค้นพบจากการศึกษานี้สามารถช่วยในการอภิปรายว่าควรเพิ่มค่า CET หรือไม่ ดังนั้นโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP)) ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2562-2564 ให้ดำเนินการศึกษาวิจัย เรื่อง “ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา การตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและภาระงบประมาณของเจ้าภาพกองทุนต่าง ๆ” เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปรับเพดานความคุ้มค่า วัตถุประสงค์ : โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าต่อการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand National List of Essential Medicines, NLEM) และตอบคำถามวิจัย ดังนี้ 1) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อราคายาที่ใช้ในการศึกษาความคุ้มค่าหรือไม่ 2) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่ 3) การเพิ่มเพดานความคุ้มค่ามีผลกระทบต่อภาระงบประมาณของระบบประกันสุขภาพหรือไม่ วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เริ่มจากการทบทวนเอกสารและวรรณกรรม จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งได้มาจากเอกสารประกอบการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2551-2563 ทีมวิจัยได้ใช้ Multivariable Regression Models เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการเพิ่มเพดานความคุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายา และการตัดสินใจคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนาต่อภาระงบประมาณของกองทุนต่างๆ ผลการศึกษา : การศึกษานี้พบว่าการปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่า มีผลกระทบต่อราคายาที่ใช้ในการศึกษาความคุ้มค่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คำถามวิจัยข้อ 1) และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการฯ ในการบรรจุยาใหม่เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คำถามวิจัยข้อ 2) สำหรับคำถามวิจัยข้อ 3 ข้อมูลงบประมาณไม่สามารถตอบคำถามวิจัยได้ว่า การปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่านั้นมีผลกระทบต่อภาระงบประมาณของระบบประกันสุขภาพหรือไม่ สรุปผลการศึกษา : เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าการปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่าส่งผลต่อการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการฯ ในการบรรจุยาใหม่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้อเสนอให้ปรับเพิ่มเพดานความคุ้มค่าที่มากกว่า 160,000 บาท/ปีสุขภาวะ ด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาใหม่จึงยังขาดหลักฐานสนับสนุน รวมทั้งควรติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลอีกในอนาคตเพราะขนาดตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ข้อสรุปของงานวิจัยนี้เปลี่ยนแปลงได้และควรสนับสนุนการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อเข้าใจบริบทและมีคำอธิบายเชิงลึกของปรากฏการณ์ที่พบในการศึกษาเชิงปริมาณนี้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6048

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้