ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 129 คน
การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐานหนึ่งเข็ม เทียบกับ ขนาดมาตรฐานสองเข็ม ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
นักวิจัย :
บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ , อังสนา ภู่เผือกรัตน์ , อาคม นงนุช , ศรินยา บุญเกิด , ปิยะธิดา จึงสมาน ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
10 เมษายน 2567

ความสำคัญและที่มา : การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับผู้ป่วยไตเรื้อรังเป็นมาตรการสำคัญในการลดโอกาสการติดเชื้อและลดภาวะแทรกซ้อนหรืออัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เนื่องด้วยผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติทำให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนน้อยกว่าประชากรปกติเมื่อใช้วัคซีนขนาดมาตรฐานทั่วไป จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดน้ำต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐานและขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐานในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตทางช่องท้อง วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุมและปกปิดทางเดียวในอาสาสมัครผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง จำนวน 100 คน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (เจริญกรุง) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดน้ำของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดสามสายพันธุ์ขนาดมาตรฐาน (15 ไมโครกรัมของฮีแมกกลูตินินต่อสายพันธุ์) เทียบกับสองเท่าของขนาดมาตรฐาน (30 ไมโครกรัมของฮีแมกกลูตินินต่อสายพันธุ์) และกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวน 25 คน จะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน ผลลัพธ์หลัก คือ สัดส่วนของผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีระดับแอนติบอดีไตเตอร์ ≥1:40 ซึ่งเป็นระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ (Seroprotection Rate) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานเทียบกับขนาดสองเท่าของมาตรฐาน ผลการศึกษา : พบการเพิ่มขึ้นของระดับแอนติบอดีไตเตอร์ที่ป้องกันโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบระดับภูมิคุ้มกันด้านแอนติบอดีก่อนได้รับวัคซีนและหลังได้รับวัคซีนที่ 1 เดือนในผู้เข้าร่วมวิจัยทุกกลุ่ม ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐาน (p≤0.05) ไม่พบความแตกต่างของสัดส่วนของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตทางช่องท้องที่มีระดับแอนติบอดีไตเตอร์ต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ในระดับที่สามารถควบคุมโรคได้ (Seroconversion; HI Titer ≥1:160) ร้อยละ 99.9 ที่ 1 เดือน และ 6 เดือน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานเทียบกับกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดสองเท่าของมาตรฐานทั้งสามสายพันธุ์ A/H1N1 (ร้อยละ 46.2 เทียบกับ 52.0, p = 0.55 และร้อยละ 15.8 เทียบกับ 12.5, p = 0.73 ; 1 และ 6 เดือนตามลำดับ) A/H3N2 ร้อยละ 69.1 เทียบกับ 64.0, p = 0.69 และร้อยละ 0 เทียบกับ 0, p = 1.00 ; 1 และ 6 เดือนตามลำดับ) เชื้อไข้หวัดใหญ่บี (ร้อยละ 51.4 เทียบกับ 52.0, p > 0.99 และร้อยละ 23.1 เทียบกับ 27.2, p = 0.75 ; 1 และ 6 เดือนตามลำดับ) นอกจากนี้สัดส่วนของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตทางช่องท้อง มีการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ไม่แตกต่างจากอาสาสมัครกลุ่มควบคุมและไม่พบความแตกต่างของผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนทั้งสองขนาดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตทางช่องท้อง การวิเคราะห์กลุ่มย่อย พบว่า อายุ เพศ จำนวนเม็ดเลือดขาว ระยะเวลาเข้ารับการฟอกไตและการมีโรคเบาหวานร่วม ไม่พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ค่าดัชนีมวลกายที่สูงมีความสัมพันธ์ระดับต่ำต่อระดับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ลดลง สรุป : ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้องรังที่ได้รับการฟอกเลือดผ่านทางช่องท้องที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐานสามารถสร้างภูมิคุ้มกันชนิดน้ำในระดับที่ป้องกันโรคได้ไม่แตกต่างจากจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสองเท่าของมาตรฐาน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6050

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้