ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 108 คน
ความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาคในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
นักวิจัย :
พิมล เชี่ยวศิลป์ , ศศิธร เพชรจันทร , อิศรางค์ นุชประยูร , พิมพรรณ กิจพ่อค้า , ปาริชาติ เพิ่มพิกุล , ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ , วารุณี จินารัตน์ , พรรณดี วัฒนบุญยงเจริญ , ดวงตะวัน ธรรมาณิชานนท์ , ดารินทร์ ซอโสตถิกุล , โอภาส พุทธเจริญ , เจตตวรรณ ศิริอักษร , ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์ , ภาวิณี คุปตวินทุ , สิณีนาฏ อุทา , สาธิต เทศสมบูรณ์ , เกรียงศักดิ์ ไชยวงค์ , ดวงนภา อินทรสงเคราะห์ , พีระยา สุริยะ , อภิสิทธิ์ ทองไทยสิน , อภิวรรษ ติยะพรรณ , คามิน วงษ์กิจพัฒนา ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
22 เมษายน 2567

ที่มาและวัตถุประสงค์ จากการลดลงของความชุกโรคเอดส์ ร่วมกับมีการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Nucleic Acid Test ที่ช่วยลด Window Period ของการตรวจเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus, HIV) บางประเทศจึงเริ่มให้ผู้มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย (Men Who have Sex with Men, MSM) ที่มีความเสี่ยงต่ำบริจาคโลหิตได้ โดยกำหนดเกณฑ์การคัดกรองตามผลการวิจัยที่สนับสนุนด้านความปลอดภัยของแต่ละประเทศ โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางเพศสัมพันธ์ผ่านโลหิตบริจาคของ MSM ในประเทศไทย โดยคำนวณการติดเชื้อ (Infection Pressure) ของ MSM เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมวัสดุและวิธีการ ทำวิจัย Prospective Cohort Study โดยรวบรวมอาสาสมัคร MSM จากทั่วประเทศ ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและภาคบริการโลหิตแห่งชาติ รวมจำนวน 10 แห่ง ในช่วง 15 มี.ค. พ.ศ. 2566 – 15 ก.ย. พ.ศ. 2566 คำนวณตัวอย่างได้จำนวน 159 คนต่อกลุ่ม โดยมีเกณฑ์คัดเข้า คือ MSM ที่มีคู่ และไม่ใช้ยา PrEP/PEP จำแนกอาสาสมัครเป็นกลุ่มความเสี่ยงต่ำ คือ มีคู่คนเดียว ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ให้บริการทางเพศหรือใช้สารเสพติดกับกลุ่มความเสี่ยงสูงที่มีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์เสี่ยงกว่า มาดำเนินการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ Transfusion Transmitted Infection (TTI): HIV, HBV, HCV, Syphilis จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน โดยกลุ่มความเสี่ยงต่ำต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ตลอด 3 เดือน ส่วนกลุ่มความเสี่ยงสูงให้มีเพศสัมพันธ์ได้ นำผลการติดเชื้อมาคำนวณค่า Infection Pressure เปรียบเทียบกับผลเลือดของกลุ่มควบคุม คือ ผู้บริจาคโลหิตเพศชายของศูนย์และภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่มีช่วงอายุและอาศัยอยู่ในภูมิภาคเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติ Two Proportion Z-test กำหนดให้ระดับนัยสำคัญ (α) เท่ากับ 0.05 ผลการศึกษา มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 192 คน มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ จำนวน 73 คน อายุระหว่าง 19 – 46 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 32 คน กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 41 คน ตรวจเลือดครั้งแรกพบการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 2 คน (Syphilis และ HBV) กลุ่มเสี่ยงต่ำ จำนวน 1 คน (Syphilis) โดยกลุ่มเสี่ยงสูงมี % Infection Pressure สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำอย่างมีนัยสำคัญ (4.88% vs. 0.00%, p-value=0.0285) สัดส่วนการติดเชื้อของกลุ่มเสี่ยงต่ำกับกลุ่มเสี่ยงสูงต่างกันเล็กน้อย (3.12% vs. 4.88%) ซึ่งไม่สามารถสรุปได้ว่าแตกต่างกันทางสถิติ (จำนวนตัวอย่างน้อย) และพบว่าอาสาสมัคร MSM มีสัดส่วนการติดเชื้อสูงกว่าผู้บริจาคโลหิตเพศชายทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.10% vs. 0.95%, p-value=0.0028) โดยกลุ่มเสี่ยงต่ำมีค่าการติดเชื้อสูงกว่าผู้บริจาคเพศชาย 3.28 เท่า ซึ่งมีนัยสำคัญทางคลินิก ไม่พบการติดเชื้อเพิ่มในการตรวจเลือดครั้งที่ 2 วิจารณ์และสรุป มีอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยน้อยกว่าเป้าหมายมาก (จำนวน 73 คน จากจำนวน 318 คน) ซึ่งอาจมีเหตุปัจจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทัศนคติส่วนบุคคลและเกณฑ์การวิจัยที่ต้องไม่ใช้ยา PrEP ทำให้มีผลต่อการวิเคราะห์จนไม่สามารถสรุปเพื่อตอบโจทย์วิจัยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่า MSM ในประชากรชาวไทยยังคงจัดเป็นความเสี่ยงทางคลินิก เพราะมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับโลหิตติดเชื้อที่แฝงอยู่ในช่วง Window Period ได้ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่สามารถเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกที่เหมาะสมให้ MSM เป็นผู้บริจาคโลหิตได้ จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ให้มีข้อมูลที่สามารถสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของผู้รับโลหิต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6051

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้