ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 181 คน
การสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มการแก้ไขจีโนมเพื่อการรักษาอย่างจำเพาะในโรคพันธุกรรมชนิดรุนแรง (ปีที่ 2)
นักวิจัย :
กัญญา ศุภปีติพร , นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา , วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ , นริศรา สุรทานต์นนท์ , แพรวพรรณ อิงรุ่งเรืองเลิศ , รุ่งนภา อิทธิวุฒิ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 มีนาคม 2567

โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมมีความหลากหลายมาก บางโรคมีความรุนแรงทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในเวลาไม่นาน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ หรือ Primary Immunodeficiency Disorders (PIDs) เป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และ/หรือยีนที่มีผลต่อการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่ในช่วงแรกของชีวิต ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อโรคบ่อยและรุนแรงกว่าคนทั่วไป มีโอกาสเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดจากโรคได้สูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับคนปกติ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผู้ป่วย ครอบครัว และระบบสาธารณสุขของประเทศ ผู้ป่วยเหล่านี้มีความบกพร่องของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างรุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ไม่ว่าจะโดยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคหรือการได้รับการรักษาด้วยยีนบำบัด มิเช่นนั้น ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตภายใน 5-10 ปีแรกของชีวิต ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรค Wiskott-Aldrich Syndrome (WAS) ซึ่งมีความบกพร่องด้านการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีลิมโฟโซต์ โรคที่มีความบกพร่องของการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด ได้แก่ โรค Chronic Granulomatous Disease (CGD) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การหาผู้ให้บริจาคไขกระดูกที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย ซึ่งมักต้องใช้ระยะเวลานาน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับการรักษานอกจากนี้ ในการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกจากผู้บริจาค ซึ่งมีความเข้ากันได้ทางพันธุกรรมบางส่วนกับผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องให้ยากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ป่วยเพื่อเตรียมร่างกายสำหรับการปลูกถ่ายไขกระดูกและให้ยาเพื่อป้องกันการต่อต้านเซลล์ของผู้ให้บริจาค (Graft Versus Host Prophylaxis) ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วย จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการรักษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การรักษาโรคโดยใช้ยีนบำบัดและเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (Genome Editing หรือ Gene Editing) ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรคพันธุกรรมบางชนิดอย่างได้ผลในบางประเทศและมีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้ทางการแพทย์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยีนบำบัดจากต่างประเทศมีมูลค่าสูงกว่าที่ผู้ป่วยทั่วไปจะเข้าถึงได้และโรคพันธุกรรมที่หายากจำนวนหนึ่งที่ไม่มีหนทางรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทางเลือกในการรักษาที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยวิธีการยีนบำบัดหรือการตัดต่อแก้ไขยีนแบบจำเพาะบุคคล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีการรักษานี้ขึ้นในประเทศ โครงการที่นำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการรักษาโดยยีนบำบัดหรือการตัดต่อยีนสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ อย่างเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่ในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลองไปจนถึงทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล ผลการศึกษานี้ ที่ผ่านมาสามารถสร้าง WAS-iPSCs และ CGD-iPSCs และ iPSC-derived HSCs สำหรับใช้เป็น Model ในการแก้ไขยีน นอกจากนี้ การกลายพันธุ์ในยีน WAS ที่พบในเซลล์ที่ได้จากผู้ป่วย WAS ได้รับการแก้ไขการกลายพันธุ์ จากการพัฒนาแพลตฟอร์มการแก้ไขจีโนมได้สำเร็จ ซึ่งเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่พัฒนาได้จากโครงการนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรคพันธุกรรมอื่นๆ ที่พบบ่อยได้อีกมาก สร้างโอกาสให้ผู้ป่วยในประเทศให้ได้รับการรักษาที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ สร้างผลิตภัณฑ์และการบริการทางการแพทย์ ขั้นสูง ลดค่าใช้จ่ายการนำเข้า ซึ่งนำไปสู่แนวทางการดูแลรักษาที่จำเพาะ มีประสิทธิภาพและสามารถเป็นต้นแบบให้สถานพยาบาลอื่นๆ ของประเทศไทยได้ในอนาคต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6028

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้