ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 302 คน
การศึกษาเชิงคุณภาพ นโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการของผู้บริหารองค์กรและงานทรัพยากรบุคคล ประเทศไทย
นักวิจัย :
เจตน์ รัตนจีนะ , พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 มีนาคม 2567

ความเป็นมา: คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564 ในส่วนการปฏิรูประบบสาธารณสุข มีจุดเน้นที่นโยบายและมาตรการในที่ทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายให้มี “นโยบายสุขภาพในที่ทำงาน” แต่การศึกษาด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการ การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ มีอย่างจำกัดและยังไม่มีแนวทางการดำเนินการระดับนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาวิจัยดำเนินการศึกษา นโยบายร่วม กลุ่ม ชมรม สมาคม และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ จากผู้บริหารองค์กรและงานทรัพยากรบุคคล ขององค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ ภาคเอกชน ในประเทศไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเชิงบุกเบิก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมานจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาในผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ โดยดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 35 คนจาก 27 องค์กร หน่วยงานและสถานประกอบการ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน 2565 ผลการศึกษา: จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญสามารถนำเนื้อความมาจัดจำแนกได้เป็น 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย 1) นโยบายร่วม กลุ่ม ชมรม สมาคม 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นตัวเงิน และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ไม่เป็นตัวเงิน สรุป: กลุ่ม ชมรม และสมาคม มีโครงการร่วมและกิจกรรมร่วมต่างๆ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นตัวเงิน เน้นที่การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีทั้งแก่สถานประกอบการที่จัดการดำเนินการและภาษีบุคคลธรรมดาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีเงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของสถานประกอบการและคนวัยทำงานรูปแบบต่างๆ รวมถึงประเด็นต่อกองทุนประกันสังคม และนโยบายที่ไม่เป็นตัวเงิน ประกอบด้วย การจัดการความรู้และแนวทางปฏิบัติมุ่งเน้นให้มีการดำเนินการออกแนวทางการปฏิบัติ การศึกษาวิจัยให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ การประชาสัมพันธ์ และการเข้าถึงคำปรึกษาแนะนำ และการให้รางวัลสถานประกอบการ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6034

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้