งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - มิถุนายน 2565 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มวิชาการ จำนวน 34 คน 2) กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 23 คน 3) ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านตาด จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยภายใต้ 3 กระบวนการ 1) กระบวนการสำรวจปัญหา 2) กระบวนการเชิงพัฒนา 3) กระบวนการประเมินผลการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในกระบวนการสำรวจปัญหาและกระบวนการเชิงพัฒนา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน independent t-test ผลการศึกษาและการประเมินผลการพัฒนา พบว่า 1) หลังการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ประชาชนมีความเข้าใจในการแจ้งเหตุด้านอุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉินที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น และแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานตรงเวลาเพิ่มมากขึ้น และแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และ 3) มีการพัฒนาความพร้อมด้านทรัพยากรในการดำเนินการงานด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เพิ่มขึ้นหลังจากพัฒนาระบบ จากเดิมร้อยละ 96.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 99.4 สรุปได้ว่า รูปแบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินส่งผลให้ประชาชนมีความเข้าใจในการแจ้งเหตุที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้นและชุดผู้ปฏิบัติการมีการทำงานตรงเวลาเพิ่มขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้