งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ของโควิด-19 ตามระดับความรุนแรงของโรคและโรคประจำตัว ในมุมมองของผู้ให้บริการ (provider perspective) วิเคราะห์ต้นทุนด้วยวิธีจากล่างขึ้นบน (bottom-up approach) ใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ด้วยวิธีตามอุบัติการณ์ (incidence-based approach) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1,667 ราย จำนวนวันนอนรวม 23,839 วัน จำนวนวันนอนเฉลี่ย 14.2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ค่ามัธยฐาน (ค่าพิสัยควอไทล์) ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษา พบ ต้นทุนรวม 608,979,250 บาท ต้นทุนต่อครั้งการนอนโรงพยาบาล (cost per admission) 362,746 บาท ต้นทุนค่าแรงของบุคลากรที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง สูงสุด 126,864 บาทต่อครั้ง โดยต้นทุนทางตรงทางการแพทย์โควิด-19 จะแปรผันตามระดับความรุนแรงของโควิด-19 ในขณะที่ต้นทุนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตและเสียชีวิตสูงสุด 387,914 บาทต่อครั้ง และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป จะมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์สูงสุด 220,463 บาทต่อครั้ง การศึกษาต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ของโควิด-19 สะท้อนภาระค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐต้องแบกรับในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีระดับอาการวิกฤตและเสียชีวิต รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นหากภาครัฐดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ครอบคลุมในประชากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษา และลดระดับความรุนแรงของโรค จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายทางตรงทางการแพทย์จากโควิด-19 ได้
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้