การทำงานระยะแรกเน้นที่การวิจัยสร้างความรู้ใช้เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพ ในมิติต่างๆ
เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้ด้านนโยบายและระบบสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างมากในเวทีระดับโลก และเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ รวมทั้งการประสาน กับเครือข่ายวิชาการด้านสุขภาพ ทั้งในและต่างประเทศโดยการทำงาน 3 ด้าน คือ หนึ่ง การเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลและองค์กรในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายสุขภาพและการวิจัยเชิงระบบ สอง ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายสุขภาพ และระบบสุขภาพ เพื่อค้นหาประเด็นสุขภาพที่สำคัญทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก และ สาม สื่อสารผลการวิจัยเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายบนฐานความรู้หรือข้อมูลทางวิชาการ
สวรส.เน้นหนักสนับสนุนการทำงานวิจัยสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบสุขภาพ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมปฏิรูประบบสุขภาพในทุกระดับ นำมาสู่การประกาศใช้พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และการจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นกลไกนโยบายใหม่ในระบบสุขภาพไทย รวมทั้ง นำมาซึ่งสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นกลไกที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม
พัฒนาขึ้นจากโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโครงการวิจัย และพัฒนาที่มีขอบเขต การดำเนินงานในโรงพยาบาลนำร่อง 35 แห่ง และได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และต่อมาได้รับการสนับสนุนทุนจาก สสส.ในการขยายงานและผลักดันจนมีกฎหมายรองรับ จัดตั้งเป็นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) หรือ The Healthcare Accreditation Institute โดยมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินระบบงานและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินการพัฒนาและ การรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล
คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่จัดทำร่าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ และขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ในคณะกรรมการฯ นี้ สวรส.มีบทบาทสำคัญทางด้านวิชาการ ในการสนับสนุนการทำวิจัย สร้างความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบสุขภาพ
สวรส.ได้สนับสนุนการทำงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการผลักดัน พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 จนสำเร็จ จนนำมาสู่การก่อตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ถือเป็นหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านสุขภาวะที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี
กองทุนที่ สสส.ดูแล เป็นกลไกเละมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่าย สร้างงาน สร้างกำลังคน ที่เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันสังคมไทยให้เป็นสังคมสุขภาวะ รวมทั้ง สสส. ยังขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับต่างประเทศ เพื่อผลักดันนโยบายระหว่างประเทศที่จะเอื้อหรือเกื้อหนุนต่อสุขภาวะในภาพรวมระดับนานาชาติ
ซึ่งผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลประสบผลสำเร็จหลายด้าน และถือเป็นต้นแบบที่ดีของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการ แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนในการขยายผลให้กว้างขวางออกไป โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จึงยังคงเป็นโรงพยาบาลในรูปแบบองค์การมหาชน เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
ซึ่งในปัจจุบัน HIA เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ตามบทบัญญัติใน พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
จากการที่ สวรส. ได้สนับสนุนและทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการศึกษาวิจัยสร้างความรู้เกี่ยวกับการจัดการการเงินการคลังสุขภาพเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่คมชัด และร่วมกันผลักดันทั้งทางการเมืองและสร้างความร่วมมือกับสังคม ทำให้ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2545 โดยมีการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขึ้นทำหน้าที่บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคุ้มครองคนไทยกว่า 48 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยมีกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุนหลัก คือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทั้งสามกองทุนยังมีการบริหารจัดการและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน จึงยังคงเป็นความท้าทายสำหรับ สวรส.และภาคีที่จะต้องร่วมกันพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ก้าวไปสู่ระบบที่เป็นธรรมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
สวปก. ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 และยกฐานะขึ้นเป็นเครือสถาบันของ สวรส. ในปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากกลุ่มนักวิชาการภายนอกที่เป็นกลาง ให้สามารถประสานและเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ของข้อมูลกับกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารแผนงานโครงการ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับนโยบาย ตลอดจนปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การบริหารและการบริการให้ก่อผลสัมฤทธิ์ที่มี ประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน สวปก. ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และได้กำหนดเป้าหมายเชิงการพัฒนาในช่วงปี 2551-2553 โดยมีเป้าหมายการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มุ่งไปสู่ “การสร้างภูมิคุ้มกัน การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และลดความแตกต่างระหว่างระบบประกันสุขภาพ”
โดยเริ่มต้นการดำเนินงานในรูปแบบแผนงานความร่วมมือ ระหว่าง สวรส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในชื่อ “แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ต่อมาคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพิจารณาผลการดำเนินงานแล้วเห็นว่า ยังมีภารกิจในการพัฒนาเชิงระบบอีกมาก เพื่อรองรับภาวะสุขภาพที่มีความพิการจากสาเหตุต่างๆ รวมทั้งภาวะสูงอายุ จึงมีมติให้ตั้งเป็นเครือสถาบันซึ่งเป็นหน่วยงานภายในของ สวรส. ใช้ชื่อว่า “สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ” ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2552 เพื่อให้เกิดการพัฒนาการทำงานในรูปแบบองค์กร สำหรับการทำงานระยะยาว เพื่อให้คนพิการควรมีสิทธิและได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ ในการเข้าถึงบริการทางสังคม และสุขภาพ มีโอกาสในการดำเนินชีวิตและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
ร่มใหญ่ของการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ได้ผ่านการจัดทำและขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 2543 โดย สวรส.มีบทบาทสร้างความรู้และงานวิชาการสนับสนุนการจัดทำ พรบ.สุขภาพฯ มาโดยตลอด เมื่อประกาศใช้ พรบ.สุขภาพฯแล้วได้มีการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพ
นอกจากนี้ ได้มีการดำเนินการให้มาตรการ กลไก ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน พรบ.สุขภาพฯ เกิดเป็นรูปธรรม โดยมีกลไกสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา เช่น หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และมีการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้สำเร็จในปี 2551 โดย สวรส.ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการในกระบวนการจัดทำดังกล่าว
กลไกสำคัญอีกประการหนึ่งภายใต้ พรบ.สุขภาพฯ ได้แก่ สมัชชาสุขภาพ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยที่ สวรส.สนับสนุนและนำเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับสมัชชาสุขภาพตั้งแต่ปี 2543 และมีการจัดสาธิตสมัชชาสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี 2544 จนกระทั่งเมื่อ พรบ.สุขภาพฯได้รับการประกาศใช้ จึงนับว่าสมัชชาสุขภาพกลายเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการมีส่วนร่วมที่มีกฎหมายรองรับ โดยมีการจัดทั้งสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติสมัชชาสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะถูกส่งต่อและผลักดันสู่การปฏิบัติผ่านช่องทาง กลไกของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้ภาคประชาชนร่วมดำเนินการ โดย สวรส.เข้าไปร่วมทำงานวิชาการในเวทีและกิจกรรมที่ สช.ดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด
เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ สวรส. ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ปัจจุบันสถาบันสุขภาพวิถีไทยมีบทบาทในการการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดชุมชนวิชาการที่ทำงานแบบชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of practice) ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก และประสานกับองค์กรภาคีต่างๆ :ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก
ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา มีโรคติดเชื้อก่อกำเนิดขึ้นใหม่ถึง 30 โรค รวมทั้งโรคซาร์ส และไข้หวัดนก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคเหล่านี้ รวมถึงการประสานข้อมูลระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดเท่าที่จะทำได้ แผนงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคจำนวน 5 ประเทศโดยได้รับทุนสนับสนุนหลักจาก International Development Research Centre: IDRC ประเทศแคนาดา
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ได้จัดทำแผนงานพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างและจัดการความรู้กำลังคนด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยมีกลไกเชื่อมประสานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง และสามารถพัฒนาไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงในที่สุด
โดยกำลังคนด้านสุขภาพ (Human Resources for Health) ครอบคลุมถึงบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ ซึ่งรวมทั้งกลุ่มวิชาชีพต่างๆและบุคลากรสนับสนุน (allied health professional) และบุคลากรแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทย ซึ่งให้บริการในสถานบริการภาครัฐและเอกชน
ในการบริหารจัดการแผนงานดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สพค.) ขึ้น และภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางหลักในการพัฒนาด้านกำลังคนด้านสุขภาพ ในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2550-2559นับเป็นพิมพ์เขียวระบบกำลังคนด้านสุขภาพที่สำคัญของระบบสุขภาพไทย
ร่มใหญ่ของการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ได้ผ่านการจัดทำและขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 2543 โดย สวรส.มีบทบาทสร้างความรู้และงานวิชาการสนับสนุนการจัดทำ พรบ.สุขภาพฯ มาโดยตลอด เมื่อประกาศใช้ พรบ.สุขภาพฯแล้วได้มีการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพ
นอกจากนี้ ได้มีการดำเนินการให้มาตรการ กลไก ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน พรบ.สุขภาพฯ เกิดเป็นรูปธรรม โดยมีกลไกสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา เช่น หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และมีการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้สำเร็จในปี 2551 โดย สวรส.ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการในกระบวนการจัดทำดังกล่าว
กลไกสำคัญอีกประการหนึ่งภายใต้ พรบ.สุขภาพฯ ได้แก่ สมัชชาสุขภาพ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยที่ สวรส.สนับสนุนและนำเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับสมัชชาสุขภาพตั้งแต่ปี 2543 และมีการจัดสาธิตสมัชชาสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องทุกปีมาตั้งแต่ปี 2544 จนกระทั่งเมื่อ พรบ.สุขภาพฯได้รับการประกาศใช้ จึงนับว่าสมัชชาสุขภาพกลายเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการมีส่วนร่วมที่มีกฎหมายรองรับ โดยมีการจัดทั้งสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติสมัชชาสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะถูกส่งต่อและผลักดันสู่การปฏิบัติผ่านช่องทาง กลไกของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้ภาคประชาชนร่วมดำเนินการ โดย สวรส.เข้าไปร่วมทำงานวิชาการในเวทีและกิจกรรมที่ สช.ดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด
วันที่ 1 กันยายน 2550 ได้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์(สคม.)ขึ้นตามมติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในการประชุมครั้งที่ 1/2549 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนากฎหมาย หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยมีการติดตามปรับปรุง แก้ไขให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดจนมีการพัฒนาระบบทบทวนโครงการวิจัยในมนุษย์อย่างต่อเนื่องครบวงจร ตั้งแต่ก่อนการศึกษาวิจัย ระหว่างการศึกษาวิจัย และภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาวิจัย โดยคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิผลของการทบทวนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในหน่วยงานต่างๆขาดการสนับสนุนการดำเนินงานอย่างจริงจัง ทำให้มีปัญหาทั้งคุณภาพมาตรฐานและความรวดเร็วในการพิจารณาโครงการวิจัย
ในช่วง 3 ปีแรก หลังจากมี พ.ร.บ.สุขภาพฯ สวรส.ได้ทำงานวิชาการเพื่อสานต่อและทำให้ประเด็นต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพฯ เป็นมรรคผล ไม่ว่าจะเป็น การสร้างความรู้สนับสนุนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ หรือการทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
และตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา สวรส. ได้ปรับตัวและปรับบทบาทหน้าที่ หันมาเน้นหนักที่ “การจัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืน” ด้วยเห็นว่าภารกิจการสร้างความรู้สาขาเฉพาะต่าง ๆ มีหน่วยงานใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแล สวรส.จึงขันอาสาที่จะเป็นแกนประสานและจัดการให้เกิดการนำเอาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ นั้น มาจัดการให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดการตัดสินใจในการพัฒนาระบบสุขภาพบนฐานความรู้ และสนับสนุนให้ระบบมีความเป็นธรรมและยั่งยืนยิ่งขึ้น
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ( Routine to Research) เป็นคำที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช อดีตผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม เป็นผู้บัญญัติขึ้นครั้งแรกให้กับโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ พ.ศ.2547 และต่อมาสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้นำมาขยายผล ภายใต้เป้าหมายและภารกิจในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพ โดยทำหน้าที่ในการบริหารจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพ
สวรส. ได้สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงจัดทำเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการเริ่มต้น R2R และประสานให้มีระบบ นักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำ R2R เป็นที่ปรึกษา ตลอดจนสร้างระบบการยกย่องผู้ปฏิบัติ (recognition) ด้วยการประกวดและให้รางวัลกับผู้ทำงาน R2R และสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสวิจัยจากงานประจำ อีกทั้งต้องการสร้างเครือข่าย R2R ในวงการสุขภาพของประเทศ โดยสวรส.จะเข้ามาทำหน้าที่เชื่อมโยงขับเคลื่อนเครือข่ายให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโครงการ R2R ในหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทั่วประเทศ เน้นการสร้างผลงานและยอมรับผลงานวิจัยจากงานประจำ และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยหวังผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัยของบุคลากร เป็นการสร้างบรรยากาศในการใช้ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหา จึงเป็นที่มาของแผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำ
สวรส.ได้ดำเนินการแผนงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูประบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ (CSMBS) โดยมีการจัดทีมวิจัยร่วมกันระหว่าง สวปก. สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และ กรมบัญชีกลาง ศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยาและด้านบริการ นำมาวิเคราะห์และหามาตรการที่เหมาะสม และนำมาสู่ประกาศกรมบัญชีกลาง วันที่ 1มกราคม 2554 ยกเลิกการเบิกค่ายากลุ่มกลูโคซามีน และจะมีมาตรการสำหรับอีก 8 รายการยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ทั้งนี้ ในส่วนการพัฒนาเครือข่ายวิจัยระบบยานั้น ได้ครอบคลุมการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์เชื้อดื้อยา การทบทวนทะเบียนตำรับยา โครงการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผล ฯลฯ
เนื่องด้วยความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 ระบบประกันสุขภาพ คือ ระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2553 วันที่ 23 เมษายน 2553 เห็นควรให้จัดตั้งคณะกรรมการและสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ และได้มอบให้สวรส.ร่วมกับ สช.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2553. ขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติได้เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 แต่ต้องปิดตัวลงในเดือนสิงหาคม 2555 อันเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีประกาศยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555
ที่ผ่านมาการพัฒนารูปแบบการจ่ายเงินตามกลุ่มจำแนกโรคร่วม ดำเนินการในลักษณะโครงการ ขาดความต่อเนื่อง และไม่มีการพัฒนานักวิชาการเพื่อดูแลเรื่องนี้อย่างชัดเจน ดังนั้นคณะกรรมการสวรส.จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ให้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย(Thai Case-mix Centre) ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในของ สวรส. ในรูปเครือสถาบัน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเละการจ่ายเงินให้แก่ผู้ให้บริการในระบบประกันสุขภาพ
30 กรกฎาคม 2555 สวรส.ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทยขึ้นตามมติคณะกรรมการ สวรส.ในการประชุมฯครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 ทั้งนี้ เพื่อให้มีกลไกกลางที่ทำหน้าที่กำหนดและพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลของระบบสุขภาพไทย ซึ่งเป็นที่คาดหวังว่า เมื่อระบบข้อมูลด้านสุขภาพของหน่วยงานต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกันแล้ว จะทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อพัฒนานโยบายหรือเพื่อแก้ปัญหาในระบบสุขภาพเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “องค์กรขับเคลื่อนความรู้สู่ระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน เพื่อสุขภาพดีและชีวิตที่ยืนยาวของประชาชน” โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ 2.เสริมสร้างสมรรถนะนักวิจัยด้านสุขภาพ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบวงจร โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารจัดการงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างยั่งยืน
รวมทั้งมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม อาทิเช่น การสร้างผลงานวิจัยที่ลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกของกลุ่มอายุต่างๆ การนำผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการไปพัฒนาระบบเครือข่ายบริการระดับเขตบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืน การเพิ่มจำนวนนักวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ การมีระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานวิจัย นักวิจัย และเครือข่ายในระบบสุขภาพ
โดยงานวิจัยต่างๆ เน้นการสร้างองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทุกมิติในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการคลังสุขภาพ ด้านกำลังคน ด้านการแพทย์/เทคโนโลยีการแพทย์ ด้านระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎหมาย / ข้อบังคับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพคนไทย ผ่านงานวิจัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยปฏิรูปบทบาทกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายเขตสุขภาพ งานวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ งานวิจัยลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การลดสาเหตุการตาย การวิเคราะห์อัตรากำลังบุคลากรสาธารณสุข งานวิจัยระบบยา ฯลฯ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้