4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

Policy Brief

11.06.2024
161 Views

[Policy Brief]_ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหาร ‘อัตรากำลังคน’ ช่วงเปลี่ยนผ่าน ถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ไปยัง อบจ.

Highlight สถานการณ์ • การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุข เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับ ที่ 2) และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน (อปท.) ที่มีความพร้อม แต่การถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบในหลากหลายมิติ รวมถึงการบริหารจัดการกำลังคนใน รพ.สต. ภายใต้สังกัด อบจ. และระบบบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ เหตุเพราะภาระงานที่เพิ่มขึ้น ทักษะงานใหม่ที่มีความต้องการจากบุคลากรเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับภาระงานที่เปลี่ยนไป • การถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อปท. มีข้อจำกัดด้านการจ้างบุคลากร ความมั่นคงทางตำแหน่งของบุคลากรทางสุขภาพ อัตราการจ้างงานระยะยาว ความก้าวหน้าเกี่ยวกับตำแหน่งงาน และความสามารถของ อปท. ในการหางบประมาณมารองรับ ซึ่งส่งผลต่อความไม่มั่นคงในอาชีพของบุคลากรทางสุขภาพ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่สอดคล้องกับบทบาทตาม พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 • ในภาพรวม รพ.สต. ยังมีความขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพเมื่อเทียบกับภาระงานและอัตรากาลัง ซึ่งบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับกรอบอัตรากำลังที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
11.06.2024
126 Views

[Policy Brief]_การให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิ และการรับรองมาตรฐาน รพ.สต. สังกัด อบจ.

Highlight สถานการณ์ • พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อให้บริการสุขภาพพื้นฐานแก่ประชาชนในพื้นที่ • ภายใต้กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องจัดบริการสุขภาพสำหรับประชาชนตาม พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นภารกิจใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏในอำนาจและหน้าที่ของ อบจ. มาก่อน • การบริการสุขภาพของ รพ.สต. สังกัด อบจ. ต้องให้บริการตามมาตรฐานงานบริการสาธารณสุขมูลฐาน, ตาม พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิฯ และตามมาตรฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิ • เกณฑ์พัฒนาคุณภาพที่ใช้ในปัจจุบัน คือ รพ.สต. ติดดาว ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่อ้างอิงมาจากเกณฑ์คุณภาพ Primary Care Award การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิในรูปแบบของเครือข่ายบริการ และมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพ รพ.สต. ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและประเมินคุณภาพหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิทั้งที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และที่ถ่ายโอนไปยัง อปท. โดยปัจจุบันมี รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ 5 ดาว ร้อยละ 70.10 ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมาย รพ.สต. ผ่านเกณฑ์พัฒนาคุณภาพ รพ.สต. ติดดาว ระดับ 5 ดาว แบบสะสมในปี 2565-2567 ร้อยละ 75, 85 และ 100 ตามลำดับ
11.06.2024
130 Views

[Policy Brief]_ก้าวต่อไปของ ‘บริการสุขภาพปฐมภูมิ’ หลัง อบจ. รับถ่ายโอนภารกิจ ‘สอน.-รพ.สต.’ ภายใต้กลไก พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิฯ

Highlight สถานการณ์ • การถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยฯ (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตามแนวทางการกระจายอำนาจ ทำให้ อบจ. สามารถจัด “ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ” ได้ตาม พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นภารกิจใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏในอำนาจและหน้าที่ของ อบจ. • ช่วงรอยต่อของการถ่ายโอนฯ พบว่ามีประเด็นที่ต้องทบทวนเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านบุคลากรปฐมภูมิที่ไม่เพียงพอ การบริหารจัดการทรัพยากรเป็นหน่วยเดียวภายใต้ CUP ทำให้ สอน. และ รพ.สต. ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอในการให้บริการสุขภาพ ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพ ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เป็นต้น • นอกเหนือจาก พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิฯ แล้ว ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและผูกพันต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิอีก เช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560, พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550, พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545, พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ฯลฯ ซึ่งอาจมีความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ.
11.06.2024
133 Views

[Policy Brief]_มุ่งสู่ความเสมอภาค-เท่าเทียม-เป็นธรรม ยกระดับ ‘การจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ’ ให้กับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อปท.

Highlight สถานการณ์ • พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไป ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) • รพ.สต. เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้หน่วยบริการประจำ หรือคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับ ปฐมภูมิ (CUP) ซึ่ง รพ.สต. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหลายแหล่งเพื่อขับเคลื่อนการให้บริการด้านสุขภาพ เช่น เงินกองทุนบัตรทองที่สนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป (OP) ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่เป็นการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) ฯลฯ
11.06.2024
168 Views

[Policy Brief]_ถมช่องว่างบริหารจัดการ ‘ทรัพยากร-งบประมาณ’ ผ่าข้อเสนอจัดสรรงบบัตรทองจาก CUP ให้ รพ.สต. สร้างความเป็นธรรมหน่วยบริการปฐมภูมิ

Highlight สถานการณ์ • แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลทั่วไป ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีความพร้อม • รพ.สต. เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ให้บริการตามแนวทางที่ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ โดยรับเงินค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผ่านหน่วยบริการประจำคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (CUP) และได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด • กลไกการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ • ภายหลังถ่ายโอน รพ.สต. ให้กับ อปท. การจัดสรรงบประมาณจากกองทุนบัตรทอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบริการสาธารณสุขใน รพ.สต. ยังใช้การบริหารจัดการจาก CUP เดิมของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวมีหลากหลายรูปแบบ โดยมีทั้งที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับขนาด จำนวนบุคลากร และสะท้อนถึงการทำงานในพื้นที่ และที่ประสบปัญหาในการบริหารจัดการงบประมาณ ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจในระเบียบของ CUP รวมถึงการบริหารจัดการด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการจัดบริการ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้