สกู๊ปและบทความจากงานวิจัย สวรส. ในรูปแบบบทความที่เข้าใจง่าย
หลายเดือนก่อนหน้านี้ ผมได้รับการติดต่อจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia) เพื่อไปร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ ไทยกับผู้บริหารระดับสูงของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม 2553 เพราะประเทศอินโดนีเซียมีกฎหมาย (National Social Security Law) ที่ใช้บังคับในปี 2004 ที่กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2014 หรืออีก 4 ปีต่อจากนี้ไป เขาอยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศไทยว่า เราทำอย่างไรจนประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
ผมรับปากว่าจะเดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วย เพราะขณะนั้นยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศ ไทย แต่พอเหตุการณ์ประท้วงขึ้นในเดือนมีนาคม 2553และต่อเนื่องเรื่อยมา จนไม่มีทีท่าว่าจะยุติเมื่อไร ผมก็แจ้งไปว่าผมอาจจะเดินทางไปร่วมประชุมด้วยไม่ได้เพราะเหตุผลความไม่สงบ ทางการเมือง ทางเขาก็ตอบกลับมาว่า เขาเข้าใจและการเมืองบ้านเขาก็มีลักษณะไม่แตกต่างจากประเทศไทย ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเมือง จึงไม่อาจเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งว่า ประเทศอินโดนีเซียกับเราเหมือนกันอย่างไรในแง่พัฒนาการทางการเมือง โดยสรุปการขอคืนพื้นที่ในวันที่ 19 พ.ค. 2553 โดยมีผลแทรกซ้อนอย่างที่เห็น ทำให้ผมสามารถเดินทางไปร่วมประชุมที่ประเทศ อินโดนีเซียในระหว่างวันที่ 26-28 พ.ค. 2553 ได้
ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรทั้งประเทศประมาณ 230 ล้านคน ปัจจุบันมีระบบประกันสุขภาพหลายระบบครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 46 (เพิ่มขึ้นจากปี 2004 ซึ่งมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมเพียงร้อยละ 10-15) ระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรมากที่สุด (ประมาณ 76 ล้านคน) คือ ระบบประกันสุขภาพสำหรับคนจน (Jamkesmas) เมื่อคิดถึงความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพที่มีปัจจุบันที่มีไม่ถึงร้อยละ 50 กับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในอีก 4 ปี ผมต้องบอกว่า มันเป็นงานที่ท้าทายมากเลยครับ
ผมได้ร่วมประชุมและพบปะกับผู้คนต่างๆ ในวงการสุขภาพของอินโดนีเซีย ในช่วงเวลาสั้นๆ คือ 2 วัน ได้เรียนรู้และมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของประเทศไทยดังนี้ครับ
โดยสรุปประเทศไทยได้รับคำชื่นชมอย่างมาก ในความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพ ไม่รู้ว่าเมื่อไร ระบบการเมืองของเราจะได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับกันได้เช่นกัน
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้