4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ถึงเวลาพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ?

ครั้งที่แล้วผมเริ่มต้นด้วยว่า จะทำให้การวิจัยสนับสนุนการดำเนินการตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ได้อย่างไร โดยเน้นที่การวิจัยระบบสุขภาพ (health systems research) มีความยุ่งยากอย่างไร ทุกท่านคงเห็นได้จากเนื้อหาที่นำเสนอในครั้งที่แล้วว่า ประเด็นพัฒนาที่สำคัญคือ การพัฒนาประเด็นงานวิจัยที่มีความสำคัญ (priority research agenda) และการพัฒนากลไกการจัดการวิจัย (research management mechanisms)

จุดประเด็นครั้งที่แล้ว ผมเริ่มต้นด้วยว่า จะทำให้การวิจัยสนับสนุนการดำเนินการตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ได้อย่างไร โดยเน้นที่การวิจัยระบบสุขภาพ (health systems research) มีความยุ่งยากอย่างไร ทุกท่านคงเห็นได้จากเนื้อหาที่นำเสนอในครั้งที่แล้วว่า ประเด็นพัฒนาที่สำคัญคือ การพัฒนาประเด็นงานวิจัยที่มีความสำคัญ (priority research agenda) และการพัฒนากลไกการจัดการวิจัย (research management mechanisms

         กลไกการจัดการวิจัยจะเกี่ยวข้องการระบบวิจัยสุขภาพ (health research system) ค่อนข้างมาก โดยในระดับมหภาค (macro level) ระบบวิจัยสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิจัยของประเทศ (national research system) ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นองค์กรนำ ตรงนี้นำไปสู่การขยายประเด็นพัฒนาใหม่คือ จะพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพของประเทศไทยอย่างไร และการพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบวิจัยโดยรวมอย่างไร

          นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปัจจุบันเป็นเลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และคณะ ได้เคยทบทวนสถานการณ์และให้ข้อเสนอเรื่องโครงสร้างระบบวิจัยของประเทศไว้ว่าน่าจะประกอบด้วยกลไกหลักๆ คือ

1) หน่วยนโยบายวิจัยระดับประเทศ (national research policy body) 
2) หน่วยนโยบายวิจัยระดับสาขา (sectoral research policy body) 
3) หน่วยให้ทุนสนับสนุนวิจัย (granting agency) 
4) หน่วยวิจัย (research agency) 
5) หน่วยผู้ใช้งานวิจัย (user) 


         ปัญหาเชิงโครงสร้างปัจจุบันคือ ยังไม่มีกลไกที่ทำหน้าที่พัฒนานโยบายวิจัยระดับสาขา วช. นั้นพยายามทำหน้าที่ตรงนี้ แต่ก็ไม่ได้นำไปสู่การประสานนโยบายในระดับสาขาต่างๆ ได้จริง ทำให้ทีมงานเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาการวิจัยระบบสุขภาพเพื่อสนับสนุนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติได้พัฒนาข้อเสนอการพัฒนาหน่วยนโยบายวิจัยสาขาสุขภาพขึ้น และจัดประชุมเพื่อระดมความเห็นต่อข้อเสนอดังกล่าวในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะบางประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 

          - ความจำเป็นเร่งด่วน ภายใต้บริบทปัจจุบัน ข้อเสนอการพัฒนากลไกนโยบายวิจัยสาขาสุขภาพนั้นมีความเร่งด่วนระดับใด หากไม่พัฒนาขึ้นจะเกิดผลเสียต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมอย่างไร เพราะปัจจุบัน วช. ก็ทำหน้าที่นี้อยู่บ้างแล้ว ตรงนี้มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากที่ประชุมว่า การที่ไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน อาจทำให้การพัฒนากลไกนี้สามารถใช้เป็นกระบวนเรียนรู้ของผู้คนในระบบวิจัย สุขภาพได้ 

          - กลไกแบบ mechanic vs. กลไกแบบ organic กลไกที่จะพัฒนาขึ้นควรจะมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัว (คล้ายสิ่งมีชีวิต: organism) มากกว่าจะทำหน้าที่คล้ายเครื่องจักร (machine) ที่มีการกำหนดสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจนและปฏิบัติตามนั้น 

         - กลไกการมีส่วนร่วม ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า กลไกนโยบายวิจัยสาขาสุขภาพนั้น จะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาคือ จะสร้างการมีส่วนร่วมดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้อย่างไร รูปแบบที่ใช้กันทั่วไปคือ การตั้งคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบจากผู้แทนหน่วยงานและภาคีต่างๆ แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การมีส่วนร่วมของกรรมการจะเป็นในลักษณะ passive ค่อนข้างมาก ข้อเสนอใหม่ที่มีการพิจารณาคือ การพัฒนากลไกเลขานุการร่วม (joint secretariat) ที่มาจากการลงแรง/ทุนของหน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง

         - การควบรวมบทบาทของหน่วยนโยบายวิจัยและหน่วยให้ทุนวิจัย เดิมเคยมีข้อเสนอให้ สวรส. ทำหน้าที่เป็นหน่วยนโยบายวิจัยสาขาสุขภาพ โดยเสนอขอแก้ไขกฎหมาย ก็มีข้อสังเกตว่า จะทำให้เป็นการควบรวมบทบาทของหน่วยนโยบายและหน่วยให้ทุนวิจัยหรือไม่ การรวมบทบาทดังกล่าวจะมีผลเสียอะไรหรือไม่ ข้อเสนอใหม่ ที่เสนอให้ สวรส. เป็นเลขานุการหลักของคณะกรรมการที่ทำหน้าที่เป็นกลไกนโยบายวิจัยสาขาสุขภาพ จะเหมาะสมกว่าหรือไม่ อย่างไร

กรอบโมเดลแสดงระบบวิจัยที่พึงประสงค์
นี่เป็นเพียงบางส่วน บางประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาแลกเปลี่ยนในเวทีดังกล่าว ผลสรุปจากการประชุมครั้งนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนอะไรต่อไปนั้น คงได้นำมาเสนอให้จุดประเด็นชวนกันช่วยกันคิดต่อไป

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
10 พฤศจิกายน 2552

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้