4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อะไรๆ ก็บูรณาการ: บรูณาการดีจริงและจำเป็นจริง? อะไรๆ ก็บูรณาการ: บรูณาการดีจริงและจำเป็นจริง?

ในเวทีแลกเปลี่ยนประเด็นทางนโยบายต่างๆ เรามักได้ยินคำว่า “บูรณาการ (integration)” บ่อยครั้ง และจะรู้สึกเหมือนกันทุกครั้งว่า หากนโยบายหรือการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ไม่ได้มีการบูรณาการกับนโยบายอื่นๆ แล้ว จะเป็นนโยบายที่น่าจะมีปัญหาหรือขาดความสมบูรณ์ จนดูเหมือนคำว่า “บูรณาการ” เป็นยาสามัญที่ต้องใช้ประจำในทุกๆ นโยบาย
ในเวทีแลกเปลี่ยนประเด็นทางนโยบายต่างๆ เรามักได้ยินคำว่า “บูรณาการ (integration)” บ่อยครั้ง และจะรู้สึกเหมือนกันทุกครั้งว่า หากนโยบายหรือการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ไม่ได้มีการบูรณาการกับนโยบายอื่นๆ แล้ว จะเป็นนโยบายที่น่าจะมีปัญหาหรือขาดความสมบูรณ์ จนดูเหมือนคำว่า “บูรณาการ” เป็นยาสามัญที่ต้องใช้ประจำในทุกๆ นโยบาย
          นอกจากคำว่า “บูรณาการ” แล้ว เราจะเห็นคำว่า “ผสมผสาน (comprehensiveness)” ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกันคือ การพยายามนำหลายๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาไว้ด้วยกัน ทำด้วยกันหรือเชื่อมโยงกัน โดยหวังว่าจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมไม่แน่ใจว่า จริงๆ แล้ว “บูรณาการ” และ “ผสมผสาน” แตกต่างกันอย่างไร...ยังไม่เห็นผู้รู้ท่านใดอธิบายไขความกระจ่างในเรื่องนี้ (ใครรู้ช่วยสงเคราะห์ให้หน่อยครับ)
 
          ผมเริ่มเห็นปัญหาของการบูรณาการ (มากเกินไป) เมื่อตอนเริ่มดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544-45 ตอนนั้นมีแนวคิดว่า บริการสุขภาพปฐมภูมิควรให้บริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิ (primary care provider) ไม่ควรจัดให้มีหน่วยเพื่อแยกให้บริการเฉพาะ ขณะนั้นที่ระดับจังหวัดมีหน่วยกามโรคให้บริการเฉพาะอยู่ (ศูนย์วัณโรคนั้นได้เริ่มถ่ายโอนงานให้กับโรงพยาบาลต่างๆ แล้ว) ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขขณะนั้นจึงตัดสินใจยุบหน่วยกามโรค และโอนงานรวมทั้งบุคลากรให้กับสถานพยาบาลปฐมภูมิต่างๆ ในเขตเมือง (และเรียกสิ่งนี้ว่าการบูรณาการ) สิ่งที่เกิดตามมาหลังจากนั้นคือ อุบัติการณ์ (incidence) ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เพราะหญิงบริการที่เป็นผู้ใช้บริการหลัก ของศูนย์กามโรคมีลักษณะเฉพาะ และไม่สะดวกที่จะใช้บริการที่สถานพยาบาลทั่วไป การใช้บริการจึงลดลง เจ้าหน้าที่เคยทำงานเชิงรุกไปให้บริการที่แหล่งสถานบริการต่างๆ ก็กระจายและถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่อื่นกันหมด
 
         ระยะหลังเราจะเห็นแนวโน้มการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช. ที่แยกบริหารงบประมาณสำหรับบริการต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยเหมาจ่ายการให้บริการปฐมภูมิทั้งหมด มาเป็นการแยกจ่ายตามประเภทบริการโดยเฉพาะบริการที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบริการรักษาพยาบาล หรือบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แม้ว่าจะยังให้บริการโดยรวมที่สถานพยาบาลปฐมภูมิแต่แยกบริหารงบประมาณ ตรงนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นกึ่งๆ บูรณาการและการแยกบริหารเฉพาะ (vertical program) แสดงว่า ยาสามัญ “บูรณาการ” เริ่มใช้ไม่ได้ผลแล้วใช่หรือไม่ จึงได้มีการปรับวิธีการบริหารและการจัดบริการในลักษณะหลากหลายเช่นนี้
 

สรุปแล้ว...เราควรจะบูรณาการเมื่อไรและอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้