4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

นโยบายสุขภาพพรรคการเมืองไทยไปได้ไกลกว่าประชานิยม?

การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 พรรคไทยรักไทย (ทรท) ได้เปิดศักราชใหม่ทางการเมือง ด้วยการชูนโยบายรูปธรรมที่เน้นสนองความต้องการของประชาชนในเรื่องต่างๆ และได้ทำตามที่สัญญาไว้เมื่อเข้ามาบริหารประเทศจนเป็นที่ชื่นชมของประชาชน จำนวนมาก

        การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 พรรคไทยรักไทย (ทรท) ได้เปิดศักราชใหม่ทางการเมือง ด้วยการชูนโยบายรูปธรรมที่เน้นสนองความต้องการของประชาชนในเรื่องต่างๆ และได้ทำตามที่สัญญาไว้เมื่อเข้ามาบริหารประเทศจนเป็นที่ชื่นชมของประชาชน จำนวนมาก นโยบายดังกล่าวถูกกล่าวขานในระยะต่อมาว่าเป็น “นโยบายประชานิยม (populism policy)” เพราะเป็นนโยบายที่เน้นสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

        การแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้ นอกจากการแข่งขันโดยการชูบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมจะเป็น “ผู้นำ” ประเทศคนต่อไปแล้ว การแข่งขันทางด้านนโยบายก็มีเข้มข้นไม่น้อยหน้ากัน โดยเฉพาะพรรคใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาและมีโอกาสจัดตั้ง รัฐบาล ความชัดเจนในนโยบายของพรรคการเมืองเล็กๆ มีค่อนข้างน้อย โดยพบว่าบรรดาพรรคการเมืองที่จดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมด 68 พรรค มีเพียง 10 พรรคเท่านั้นที่มีการประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการ

นโยบายด้านสุขภาพของพรรคการเมืองไทย

        นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่พบได้ในนโยบายของทุกพรรค โดยมีความชัดเจนแตกต่างกัน บางพรรคเขียนไว้สั้นๆ เพียงว่าจะปลดหนี้ประชาชนโดยการออกเป็นกฎหมาย แต่บางพรรคมีระบุรายละเอียดมาตรการไว้มากมาย พร้อมงบประมาณที่ต้องใช้ สำหรับนโยบายด้านสุขภาพซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสังคม มีเพียง 5 พรรคการเมืองเท่านั้นที่ระบุไว้ในนโยบาย โดยสาระสำคัญของนโยบายด้านสุขภาพกล่าวโดยสรุปมีดังนี้[1]

         การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ มี 5 พรรคการเมืองนำเสนอ โดยต่อยอดจาก “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” เดิมของพรรคไทยรักไทย โดยมีการเสนอให้ทั้งเพิ่มและไม่เพิ่มงบประมาณ (ปัจจุบัน 2,100 บาทต่อคน) ปรับปรุงคุณภาพบริการและคุณภาพยา เพิ่มทางเลือกการใช้บริการคลินิกใกล้บ้าน อาจมีการร่วมจ่ายสำหรับคนรวย สำหรับโครงการประกันสังคมเสนอให้มีการขยายความครอบคลุมไปยังครอบครัวผู้ ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์ เพิ่มงบประมาณที่จะจ่ายให้รพ. เพื่อให้รพ.เอกชนเข้าร่วมให้บริการ ให้บูรณาการระบบบริหารของ 3 กองทุนประกันสุขภาพ (บัตรทอง ประกันสังคม และข้าราชการ) เห็นด้วยการมาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing-CL) เพื่อให้ได้ยาราคาถูก แต่จะไม่ใช้อย่างสุดโต่ง
      การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข มี 3 พรรคการเมืองเสนอให้มีการพัฒนาคุณภาพบริการของคลินิก สถานีอนามัยหรือศูนย์อนามัยชุมชนด้วยมาตรการที่แตกต่างกัน เช่น ยกระดับสถานีอนามัยเป็นรพ.ประจำตำบล จัดหาบุคลากรให้เป็นที่พึ่งได้ มีเครื่องมือเพียงพอ ขยายการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (quality accreditation) ไปสู่คลินิก (ปัจจุบันจำกัดเฉพาะที่รพ.) มี 1 พรรคเสนอเพิ่มงบประมาณด้านครุภัณฑ์รพ.จำนวน 20,000 ล้านบาท และอีก 2 พรรคเสนอให้มีการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical services)
      การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข มี 3 พรรคการเมืองนำเสนอ โดยเน้นการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการให้เพียงพอเพื่อแก้ไขปัญหาสมอง ไหล มี 1 พรรคเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุข (กสธ.) เพื่อรับผิดชอบงานบริหารงานบุคคลแทนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)และมีอีก 1 พรรคที่เสนอให้มีการจ่ายค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เดือนละ 1,000 บาท

     อื่นๆ ได้แก่

  • การจัดตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหายจาการใช้บริการสาธารณสุข (1 พรรค) เพื่อแก้ไขปัญหาการฟ้องร้องแพทย์
  • การยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการผลิตยาของโลก (1 พรรค) พร้อมทั้งเป็นเมืองมหาวิทยาลัยทางการแพทย์   
  • การจัดตั้งลานกีฬาเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย (3 พรรค) จัดตั้งและพัฒนาศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน (2 พรรค) ศูนย์ความสุขชุมชน และศูนย์ความสุขผู้สูงอายุ (1 พรรค) และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค (2 พรรค)
 
นโยบายขายฝันหรือกำลังก้าวไปสู่ความเป็นจริง

          หากพิจารณาเนื้อหาโดยรวมนโยบายด้านสุขภาพของพรรคการเมืองต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า นโยบายสุขภาพที่มีลักษณะเป็นการขายฝันให้แก่ประชาชนมีลดลง อาจเนื่องจากระบบปัจจุบันให้สิทธิด้านการรักษาพยาบาลค่อนข้างมากอยู่แล้ว มีบางพรรคระบุนโยบายว่าจะขยายความคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลแต่ก็ไม่มี รูปธรรมชัดเจน ประเด็นขายฝันกลับมุ่งไปสู่กลุ่มบุคลากรสาธารณสุขและ อสม. แทน โดย ระบุว่าจะมีการปรับปรุงระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ และความก้าวหน้าในระบบราชการ (ผ่านการจัดตั้ง กสธ.) ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงสาธารณสุขได้พยายามผลักดันมา โดยตลอด แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากติดกรอบระบบใหญ่ ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายนี้จะดำเนินการอย่างไร การเสนอจ่ายค่าตอบแทนแก่ อสม. เดือนละ 1,000 บาท ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท (สำหรับ อสม. จำนวน 829,412 คน) ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้เงินจากแหล่งใด มีความเป็นไปได้แค่ไหน ที่สำคัญการจ่ายค่าตอบแทนประจำให้แก่อาสาสมัคร ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของความหมายและคุณค่าของคำว่า “อาสาสมัคร” ที่เคยมีมาแต่เดิม


          ประเด็นนโยบายที่ถือได้ว่าค่อนข้างก้าวหน้า และได้หยิบประเด็นที่กำลังเป็นปัญหาและเป็นที่สนใจขึ้นมาดำเนินการได้แก่ ประเด็นเรื่องการบูรณาการการบริหาร 3 กองทุนประกันสุขภาพ การขยายความครอบคลุมประกันสังคมพร้อมปรับระบบบริหารให้โปร่งใส การร่วมจ่ายค่าบริการ การพัฒนาคุณภาพบริการของคลินิก สถานีอนามัยหรือศูนย์อนามัยชุมชน การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบังคับใช้สิทธิ (CL) การจัดตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหายจากการใช้บริการ ฯลฯ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาข้อเสนอรายละเอียด และผู้เกี่ยวข้องได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้วระดับหนึ่ง การที่พรรคการเมืองระบุประเด็นต่างๆ เหล่านี้ไว้เป็นนโยบาย น่าจะเป็นการสร้างความชัดเจนและผลักดันให้การพัฒนาประเด็นต่างๆ เหล่านั้นมีความคืบหน้ามากขึ้น ขณะเดียวกันพรรคเมืองต่างๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อเสนอรายละเอียดต่างๆ ที่มีการดำเนินการมาก่อนหน้าที่ เพื่อกำหนดนโยบายในรายละเอียดได้ไม่ยาก

          การเชื่อมโยงนโยบายสุขภาพกับนโยบายด้านอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเศรษฐกิจ เป็นประเด็นที่พึงระมัดระวัง เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ได้เป็นความสำเร็จของทั้งสองนโยบายที่เป็นการหนุน เสริมซึ่งกันและกัน (synergistic effect) แต่อาจกลับกลายเป็นการนำนโยบายสุขภาพไปหนุนนโยบายเศรษฐกิจจนทำให้กระทบต่อ เป้าหมายของนโยบายสุขภาพ ตัวอย่างของนโยบายในกรณีนี้คือ นโยบายการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลก หรือในชื่อที่เคยเรียกกันว่า medical hub จริงๆ แล้ว ภาคเอกชนได้ขับเคลื่อนนโยบายนี้ไปแล้วระดับหนึ่ง มีผลทำให้จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเพิ่ม ขึ้น (ประมาณ 1.4 ล้านคนในปี 2549) ประมาณการรายได้เข้าประเทศจากนโยบายนี้ในปี 2551 อาจสูงถึง 40,000 ล้านบาท แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบบริการสาธารณสุขสำหรับคนไทยคือ การลาออกของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ(รวมถึงอาจารย์ แพทย์) จากรพ.รัฐไปยังรพ.เอกชนที่ให้บริการชาวต่างชาติ เนื่องจากให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า 5-10 เท่า ขณะที่ปัจจุบันจำนวนบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉลี่ยยังต่ำกว่ามาตรฐาน นี่ย่อมส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการของประชาชนคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เหลียวหานโยบายสร้างสุขภาวะ

        นโยบายด้านสุขภาพของพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ยังคงเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล มีการกล่าวถึงนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพบ้าง อาทิ เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกาย การส่งเสริมสถาบันครอบครัว การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็ก/เด็กก่อนวัยเรียน ที่มีแปลกแหวกแนวขึ้นมาใหม่คือ แนวคิดเรื่องการสร้างศูนย์ความสุขชุมชน ศูนย์ความสุขผู้สูงอายุ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่ารูปร่างหน้าตาจะเป็นอย่างไร จะทำให้เกิดความสุขขึ้นได้จริงหรือไม่

        อย่างไรก็ตาม น่าจะเป็นห่วงอย่างยิ่งหากพรรคการเมืองกล่าวถึงนโยบายสร้างสุขภาพหรือสุข ภาวะ โดยแยกส่วนจากนโยบายทางด้านสังคม เศรษฐกิจ เพราะนั่นเท่ากับการมองไม่เห็นประเด็นสุขภาวะในลักษณะองค์รวม และจะยิ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งหากการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไม่ ได้เป็นไปในทางที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับโครงการสร้างรายได้โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการ ทำลายสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การควบคุมการบริโภคสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า บุหรี่ หรือสารเสพติดอื่นๆ พรรคการเมืองจะมีท่าทีหรือนโยบายอย่างไร ทั้งหมดนี่เป็นสิ่งประชาชนต้องจับและทวงถามเพื่อให้เกิดความชัดเจน ก่อนที่ทุกคนจะไปใช้สิทธิของตนเองในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้


[1] สรุป จากข้อมูลนโยบายพรรคที่มีการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ได้แก่ website ของพรรค เอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร คำให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคหรือเลขาธิการพรรคผ่านสื่อต่างๆ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้