4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

วิจัยความรู้สู่แนวทาง ป้องกัน-ดูแล-รักษา “โรคสมาธิสั้น”

สมาธิสั้น-อนาคตยังไม่สั้น ถ้าป้องกันและรักษาอย่างถูกทาง
ป้องกัน : สังเกตและคัดกรองเบื้องต้นด้วยเครื่องมือ เช่น แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) แบบคัดกรอง SNAP-IV, KUS-SI, Conners rating scale, THASS ฯลฯ
ดูแล : ปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและโรงเรียน เช่น ลดสิ่งเร้า อาทิ ทีวี เกมส์ ของเล่น  เพิ่มสมาธิ ฝึกทำกิจกรรมที่เด็กชอบอย่างจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น  เพิ่มการควบคุมตนเอง ฝึกระเบียบวินัย หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและควบคุมอารมณ์  
รักษา : ปัจจุบันการรักษาด้วยยาที่ได้ผลดีที่สุด คือ ยาในกลุ่ม Psychostimulants โดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สมองให้เพิ่มสารเคมีตัวที่เด็กมีน้อยกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และมีสมาธิยาวนานขึ้น
ส่งต่อและติดตาม : สังเกตพฤติกรรม  ประเมินอาการข้างเคียงของยารักษาโรคสมาธิสั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อหากพบปัญหา

พลังการแก้ปัญหา : จากความรู้สู่ความร่วมมือ 3 ฝ่าย
จากผลวิจัยแปลงสู่ความร่วมมือของ “ผู้ปกครอง  ครู  บุคลากรทางการแพทย์” สู่การดูแลรักษาเด็กโรคสมาธิสั้นอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร
บ้าน  พ่อแม่สังเกตความผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการประเมินด้วยแบบคัดกรอง SNAP-IV และติดตามผล
โรงเรียน  ครูสังเกตความผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการประเมินด้วยแบบคัดกรอง KUS-SI, SNAP-IV และติดตามผล
รพ.สต./โรงพยาบาล  ประเมินอาการ ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรค  การปรับพฤติกรรมที่บ้านและโรงเรียน การลดปัจจัยเสี่ยง การติดตามอาการ และการส่งต่อ  มีการปรับพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา  ควบคู่กับแพทย์วินิจฉัยโรคสมาธิสั้น  และประเมินหรือคัดกรองโรคร่วมหรือโรคอื่นๆ

ข้อมูลจาก : คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ดาวน์โหลดคู่มือฯ และงานวิจัยของ สวรส. คลิก http://kb.hsri.or.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้