ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 252 คน
จำนวนดาวน์โหลด :1ครั้้ง
มุมมองและความคาดหวังของประชาชนต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นักวิจัย :
สสิธร เทพตระการพร , ศุภางค์ วัฒนเสย , จิรภัทร หลงกุล , คัติยา อีวาโนวิช , สิริมา มงคลสัมฤทธิ์
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 กันยายน 2566

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษามุมมองและความคาดหวังของประชาชนต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สู่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และวัตถุประสงค์รองเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แนวทางการจัดการระบบฐานข้อมูลสุขภาพจากการถ่ายโอนฯ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาทฤษฎีเชิงระบบร่วมกับกรอบแนวคิดของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks) รูปแบบการศึกษาแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed methods : Qualitative and Quantitative research design) พื้นที่ศึกษาในเขตสุขภาพที่ 4 และเขตสุขภาพที่ 1 เก็บข้อมูลจาก รพ.สต. ที่ถ่ายโอนแล้วและยังไม่ถ่ายโอน จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารในพื้นที่ทั้งกระทรวงสาธารณสุข และ อปท. จำนวน 48 คน 2) บุคลากรจาก รพ.สต. ทั้งถ่ายโอนและยังไม่ถ่ายโอน จำนวน 104 คน และ 3) ประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่ จำนวน 3,912 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการ รพ.สต. ทั้ง 46 แห่ง มีความคาดหวังต่อบริการของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนแล้ว (20 แห่ง) ไม่ต่างจาก รพ.สต. ที่ยังไม่ถ่ายโอน (26 แห่ง) คือ ต้องการให้แพทย์เยี่ยมบ้าน ติดตามดูแลคนไข้มากขึ้นจนหายปกติ มียาคุณภาพ รักษา ครบทุกโรค สามารถรับยาได้ที่ รพ.สต. ไม่ต้องไปโรงพยาบาล มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความพร้อมเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีครบและบุคลากรเพียงพอ ทั้งนี้ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการได้รับบริการระหว่าง รพ.สต. ที่ถ่ายโอนสูงกว่ายังไม่ได้ถายโอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) ผลกระทบจากการถ่ายโอนฯ พบว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้รับผลกระทบในด้านบุคลากรที่ไม่ถ่ายโอนไปด้วย ด้านงบประมาณที่ยังไม่ชัดเจนในการใช้และด้านที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่ต้องดำเนินการกับหน่วยงานอื่นนอกจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงแนวทางการจัดการระบบฐานข้อมูลสุขภาพจากการถ่ายโอน การส่งต่อ ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เชื่อใจ รวมถึงการเพิ่งเริ่มต้นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของ อปท. ทำให้การถ่ายโอนฯ มีอุปสรรคในการดำเนินการมาก ดังนั้น การสื่อสารเพื่อให้เกิดความชัดเจนรวดเร็วจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และ อปท. ซึ่งความเชื่อใจ ไว้วางใจ จะทำให้ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนฯ สามารถตอบสนองความคาดหวังของประชาชนได้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5929

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้