รวมรวมแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสถานับที่น่าสนใจ
การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประเมินผลตอบแทนทางสังคมของระบบการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return On Investment: SROI) ของการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยทำการศึกษาใน 6 พื้นที่ ได้แก่ พชอ.นาทวี จังหวัดสงขลา, พชอ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ, พชอ.บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี, พชอ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, พชอ.เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และพชอ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยกระบวนการในการศึกษาประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) การจัดสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้เสีย (Focus Group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) และแบบสอบถาม (Questionnaire) ตลอดจนการแปลงคุณค่าทางสังคม (social value) หรือผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการมาเป็นมูลค่าทางการเงิน (financial proxy) ผ่านการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการ (Cost-Benefit Analysis) และการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ด้วยอัตราคิดลดตามพันธบัตรรัฐบาล (Discount Rate) ร้อยละ 3 ผลการศึกษาผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของระบบการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 โดยใช้อัตราคิดลดตามอัตราผลตอบแทนตามพันธบัตรรัฐบาล ร้อยละ 3 พบว่า 1) พชอ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 1.59 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาท ที่ลงทุนในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.สองพี่น้อง จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 1.59 บาท 2) พชอ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 2.58 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาท ที่ลงทุนในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.แม่สาย จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 2.58 บาท 3) พชอ.นาทวี จังหวัดสงขลา มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 2.25 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาท ที่ใช้ในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.นาทวี จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 2.25 บาท 4) พชอ.เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 0.98 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาทที่ลงทุนในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.เมืองขอนแก่น จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 0.98 บาท 5) พชอ.บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 13.59 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาท ที่ลงทุนในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.บางบัวทอง จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 13.59 บาท และ 6) พชอ.บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อยู่ที่ 13.39 เท่า กล่าวคือ งบประมาณ 1 บาท ที่ลงทุนในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ พชอ.บางพลี จะสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 13.39 บาท ตามลำดับ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้