ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 238 คน
จำนวนดาวน์โหลด :1ครั้้ง
การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
นักวิจัย :
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร , กฤษดา แสวงดี , Benjaporn Rajataram , Kamolnut Muangyim , Atiya Sarakshetrin , Rungnapa Chantra , Wiriya Phokhwang-Just , Suttini Wattanakul , Daravan Rongmuang , Srijan Pupjain , Suthanan Kunlaka
ปีพิมพ์ :
2560
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
22 พฤษภาคม 2561

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบผสมโดยทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาระงานและปัจจัยกำหนดผลิตภาพ 2) ศึกษาความสอดคล้องของภาระงานกับอัตรากำลังบุคลากรที่มี และ3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกำลังคนสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ บุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. 5 ขนาด (S, M, L, Extra และพิเศษ) จำนวน 336 คน ใน 48 แห่งที่สุ่มโดยวิธี Stratified Random Sampling จาก 12 จังหวัด ใน 12 เขตสุขภาพ และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย บุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. ดีเด่น จำนวน 8 แห่ง ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จาก 4 ภูมิภาคของประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลการใช้เวลาในการการปฏิบัติงานประจำวัน และภาระงานในระยะเวลา 3 เดือน แบบสังเกตชนิดมีโครงสร้างและประเด็นในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอัตรากำลังคนเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมการทำงานของบุคลากรใน รพ.สต. ใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานรักษาพยาบาล (ร้อยละ 60 – 70) มากกว่างานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งเป็นภารกิจหลักของรพ.สต. 2) ในภาพรวม รพ.สต. ยังมีความขาดแคลนกำลังคนเมื่อเทียบกับภาระงาน อัตรากำลังบุคลากรที่มีในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับกรอบอัตรากำลังที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยเฉลี่ยบุคลากรแต่ละคนในรพ.สต. มีการทำงานประมาณ 1.2 FTE และบุคลากรทุกตำแหน่งมีการใช้เวลากว่าร้อยละ 30 ของเวลาการทำงานทั้งหมด เพื่อทำรายงานผลงานตามตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด รวมถึงการทำงานด้านบริหาร งานเอกสารอื่นๆ เช่น งานพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน การบันทึกข้อมูล มีผลทำให้เวลาที่ให้บริการสุขภาพประชาชนลดน้อยลง ในขณะเดียวกันบุคลากรส่วนใหญ่รู้สึกขาดขวัญกำลังใจ ที่ทำงานหนัก แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงควรมีการทบทวนการกำหนดกรอบมาตรฐานอัตรากำลัง,การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่างๆ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากกำลังคนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ ตามลักษณะงานและปริมาณงานของ รพ.สต.แต่ละขนาด ส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับภารกิจหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาสมรรถนะผู้อำนวยการรพ.สต. ในการบริหารจัดการเพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็น และควรมีการจัดสรรบุคลากร รพ.สต. ให้มีจำนวนเพียงพอภาระงานในปัจจุบัน รวมทั้งการทบทวนเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัด และระบบรายงาน ที่จะไม่เป็นภาระแก่บุคลากรโดยไม่จำเป็น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4893

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้