งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำผลที่ได้ไปออกแบบกระบวนการในการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy, HL) ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ 2) เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสิทธิประโยชน์ การยกระดับการดูแลตามแนวทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ 3) นำผลที่ได้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยสารสาธารณะ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 350 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ตรวจวัดสัญญาณชีพ และตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง Spirometer และวัดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วยเครื่อง Smokerlyzer ประเมินระดับความเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (mMRC) และประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD Assessment Test : CAT score) ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.8 – 1 และวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างใช้อุปกรณ์ในการป้องกันมลพิษโดยสวมหน้ากากอนามัยมากถึงร้อยละ 65.71 2) ระดับความเหนื่อยในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความรู้สึกเหนื่อยร้อยละ 76.00 รองลงมามีอาการเหนื่อยง่าย เมื่อเดินเร็วๆ หรือเดินขึ้นทางชัน ร้อยละ 23.71 และมีอาการเหนื่อยเมื่อเดินในพื้นราบช้ากว่าคนที่อายุใกล้เคียงกัน เพียงร้อยละ 0.29 3) พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจร้อยละ 97.14 แต่พบว่าการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ และสัมพันธ์กับจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ดังนั้น ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรนำผลการวิจัยมาใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้