ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 691 คน
การใช้แร่เฉพาะที่เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในตา
นักวิจัย :
สุรศักดิ์ เสาแก้ว , พจมาน พิศาลประภา , กิรติ เก่งกล้า , สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ , ชญานิศ โฆสิตะมงคล ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
3 กรกฎาคม 2567

ที่มาและความสำคัญ : การรักษาด้วยการวางแร่ (Eye Plaque Brachytherapy) เป็นการรักษาทางเลือกใหม่ที่กำลังมีการใช้อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพในการรักษาไม่ต่างจากการฉายรังสีแบบภายนอกในแง่ของการควบคุมมะเร็ง ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ และอัตราการตายไม่แตกต่างกัน แต่สามารถลดการสูญเสียลูกตาได้มากกว่า คงการมองเห็นได้มากกว่า และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยการวางแร่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว เมื่อเทียบกับการฉายรังสีภายนอก และเสียเวลาในการมารับบริการน้อยกว่า วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการรักษาด้วยวิธีวางแร่ที่ตา (Eye-Plaque Brachytherapy) สำหรับรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา (Intraocular Melanoma) ในประเทศไทย และประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (Budget Impact Analysis) หากเทคโนโลยีวางแร่ที่ตา สำหรับรักษามะเร็งที่ตา (Intraocular Tumors) มีความคุ้มค่าทางการแพทย์ และบรรจุในสิทธิการรักษาประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิธีการศึกษา : ทำการวิเคราะห์ต้นทุนและอรรถประโยชน์ของการรักษา (Cost-Utility Analysis) ของเทคโนโลยีการวางแร่ที่ตา เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเอาลูกตาออกทั้งหมด (Enucleation) ในผู้ป่วยมะเร็งที่ลูกตา โดยทำการศึกษาในมะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา ประกอบด้วย Uveal Melanoma และ Retinoblastoma โดยใช้แบบจำลอง Markov และวิเคราะห์ในรูปอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio; ICER) โดยการวิเคราะห์หาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นต่อปีชีวิตที่มีคุณภาพ หรือปีสุขภาวะของผู้ป่วย (Cost Per Quality-Adjusted Life Year Gained) และทำการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ (Budget Impact Analysis, BIA) โดยการวิเคราะห์ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น หากทางเลือกที่คุ้มค่าถูกบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา และทำการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ หากขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยเนื้องอกที่ลูกตาทุกชนิด (Intraocular Tumors) ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์แบบอุบัติการณ์ (Incidence-Based Analysis) การรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตา (Plaque Brachytherapy) เป็นการรักษาที่มีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 193,852 บาท เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด (Enucleation) ซึ่งอยู่ภายในระดับ Cost-Effectiveness Threshold ของกลุ่มโรคที่พบไม่บ่อย (Rare Disease) ที่ประเทศไทยที่กำหนด และมีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 133,648 เมื่อวิเคราะห์แบบความสามารถสูงสุดของระบบบริการที่รองรับได้ (Maximum Capacity) สำหรับผลกระทบด้านงบประมาณจะใช้งบประมาณปีละ 2.28 ล้านบาท ทั้งในผู้ป่วยรักษามะเร็งเม็ดสีที่ลูกตา และมะเร็งตาชนิดไม่ใช่เมลาโนมา อย่างไรก็ตาม โรคเนื้องอกในตา (Intraocular Tumors) ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา เช่น Eye Hemangioma, Retinal Vasoproliferative Tumors, Choroidal Metastasis, Retinal Pigment Epithelium Adenoma, Hemangioblastoma, Leiomyosarcoma, Von Hippel-Lindau ซึ่งเป็น Very Rare Diseases มีจำนวน Estimated Cases รวมกันน้อยกว่า 1 รายต่อปี จะได้ประโยชน์ในการรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา และไม่เกินจำนวนสูงสุดที่สามารถให้บริการได้ ดังนั้น จึงเสนอพิจารณาบรรจุการรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตาในมะเร็งเม็ดสีในดวงตา (Uveal Melanoma และ Retinoblastoma) รวมถึงเนื้องอกในลูกตาทุกชนิดที่จัดเป็นโรคที่พบไม่บ่อยเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยโรคมะเร็งเม็ดสีในดวงตา หรือเนื้องอกในตาชนิดอื่น ๆ ที่สามารถรักษาด้วยการวางแร่ที่ตา สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยการฝังแร่ที่ตามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาเนื้องอกที่ลูกตา สามารถลดการสูญเสียดวงตา และสูญเสียการมองเห็นของผู้ป่วยมะเร็งที่ลูกตาได้ และใช้งบประมาณไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6114

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้