ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 922 คน
การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ
นักวิจัย :
ณัฏฐิญา ค้าผล , สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย , น้ำฝน ศรีบัณฑิต , วุทธิชาติ กมลวิศิษฎ์ , ลลิดา ก้องเกียรติกุล , วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ , ปองหทัย บุญสิมมา , ณัฏฐพล สัมประสิทธิ์ , ปานทิพย์ จันทมา , ธมลวรรณ ดุลสัมพันธ์ , โชติกา สุวรรณพานิช , วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย , ยศ ตีระวัฒนานนท์ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 มกราคม 2567

โรคทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือหอผู้ป่วยวิกฤต การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีมาตรฐานอาจไม่สามารถแยกโรคได้หรืออาจใช้เวลานานในการวินิจฉัยโรค ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้ การใช้เทคโนโลยี rapid Next Generation Sequencing (rNGS) เช่น rapid Whole Exome Sequencing (rWES) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุได้ แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี rWES มีราคาสูงจึงควรมีการประเมินความคุ้มค่าของการใช้เทคโนโลยีในบริบทของประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบงบประมาณของการตรวจด้วย rWES เปรียบเทียบกับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานและศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการครอบคลุมเทคโนโลยี rWES ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในมุมมองของสังคมต่อการใช้เทคโนโลยี rWES ในการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุ เปรียบเทียบกับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน การศึกษาใช้แบบจำลองแผนภูมิการตัดสินใจและแผนภูมิมาร์คอฟ ในการประมาณต้นทุนและปีสุขภาวะของผู้ป่วยตลอดชีวิต ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนเวชระเบียนและการศึกษาโครงการย่อย ทำการวิเคราะห์ความไวของความไม่แน่นอนของตัวแปรในแบบจำลองด้วยวิธีการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ความไวแบบความน่าจะเป็น ผลการศึกษา : การตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยี rWES สามารถประหยัดต้นทุนได้เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน โดยมีค่าอัตราส่วนต้นทุนและประสิทธิผลส่วนเพิ่มเป็นค่าลบ คือ มีต้นทุนรวมที่น้อยกว่าและมีปีสุขภาวะที่สูงกว่า ตัวแปรที่มีความไวและส่งผลต่อผลการวิเคราะห์มาก คือ ความน่าจะเป็นในการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นทารก อภิปรายและสรุปผลการศึกษา : การใช้เทคโนโลยี rWES มีความคุ้มค่าแต่ผลการศึกษายังมีความอ่อนไหวจึงควรบรรจุเทคโนโลยี rWES ในชุดสิทธิประโยชน์ในตอนตั้งต้นก่อนและควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้นก่อนทำการประเมินความคุ้มค่าในอนาคต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5998

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้