ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 587 คน
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ เพื่อตรวจหาผู้ที่เป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในประเทศไทย
นักวิจัย :
วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ , นริสา ตัณฑัยย์ , ศตนันทน์ มณีอ่อน , พงศ์ธวัช เลิศวิลัยวิทยา ,
ปีพิมพ์ :
2565
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 มีนาคม 2565

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเพศหญิง ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์การเกิดมากที่สุดในเพศหญิง ส่วนโรคมะเร็งรังไข่พบได้เป็นอันดับ 6 โรคมะเร็งส่วนหนึ่งที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีโอกาสคาดการณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยกลุ่มผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1/BRCA2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม (ร้อยละ 80) และมะเร็งรังไข่ (ร้อยละ 15-40) สูงกว่าประชากรปกติที่มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม ร้อยละ 12 และมะเร็งรังไข่ ร้อยละ 1.4 ปัจจุบันมีการตรวจทางอณูพันธุศาสตร์ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1/BRCA2 และสมาชิกในครอบครัวที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ซึ่งสามารถให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในอนาคต ทำให้สามารถลดอัตราการตายและการเจ็บป่วยของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจุบันการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของยีนมีราคาสูงและไม่รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ ทำให้ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่สามารถเข้าถึงการตรวจนี้ได้ วิธีการศึกษา: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 เพื่อการวินิจฉัยทางพันธุกรรมสำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและได้รับการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจในบริบทของประเทศไทย โดยทำทั้งในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงที่ควรได้รับการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 และกลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน และประเมินผลกระทบด้านงบประมาณหากนำมาพิจารณาบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ ทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์ทางสุขภาพตลอดชีวิตในมุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล ต้นทุนที่ศึกษาเป็นต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์และไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ได้แก่ ปีสุขภาวะของผู้ป่วย ผลการศึกษานำเสนอในรูปอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-effectiveness Ratio, ICER) ทำการประเมินผลกระทบของความไม่แน่นอนของตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองโดยวิธีการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวและแบบอาศัยความน่าจะเป็น ผลการศึกษานี้พบว่าทางเลือกของการตรวจยีนและได้รับการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรได้รับการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 เมื่อเทียบกับการไม่มีการตรวจยีน โดยมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม เท่ากับ 18,591 บาทต่อปีสุขภาวะ และสำหรับกลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนสามารถประหยัดต้นทุนได้ (cost-saving) นอกจากนี้ถ้าพิจารณาในราคาการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงปัจจุบัน (21,340 บาท) การตรวจยีนและได้รับการป้องกันการเกิดมะเร็งจะมีผลกระทบทางงบประมาณรวม 5 ปี มากกว่าการไม่ได้ตรวจยีน 1,011 ล้านบาท ข้อเสนอเชิงนโยบาย : เสนอให้การตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรได้รับการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 และกลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1/BRCA2 บรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากมีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5493

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้