4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. ระดมเครือข่ายนักวิจัย-ผู้ปฏิบัติงาน ประมวลสถานการณ์ถ่ายโอน รพ.สต. พร้อมใช้วิจัยเป็นฐาน พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จัดการประชุมเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอข้อมูล/ข้อค้นพบ และข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งจุดแข็งที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข และหน่วยงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 90 คน เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2568 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ 

          ทั้งนี้ในการประชุมได้มีการนำเสนอ 21 งานวิจัยที่ทำให้เห็นถึงกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายโอน สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. โดยแบ่งกลุ่มการนำเสนองานวิจัยตามประเด็นที่ครอบคลุม Six Building Blocks Plus One ได้แก่ การอภิบาลระบบที่ว่าด้วยเรื่อง ระบบสุขภาพท้องถิ่น ระบบสุขภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านกลไก HIA กลไกและบทบาทของคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) บทบาทของ อบจ. ในการจัดการด้านสุขภาพ บทบาทของกลไกเดิม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ศูนย์วิชาการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขกับการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ และผลการสำรวจติดตามประเมินผล รพ.สต. ก่อนและหลังถ่ายโอนฯ ระบบกำลังคน งานวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพต่างๆ สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ ความก้าวหน้า การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขของ อบจ. ระบบการเงินการคลังสุขภาพ กับประเด็นกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และต้นทุนการจัดบริการสาธารณสุขของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. ระบบบริการสุขภาพ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การประเมินคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉิน นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการปฐมภูมิ การใช้แนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว การจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง และการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ระบบยา งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการด้านยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานยาในระบบสุขภาพปฐมภูมิ
         
          ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ขมวดปิดท้ายว่า จากผลงานวิจัยทั้ง 21 เรื่อง เปรียบเทียบได้กับอวัยวะต่างๆ ของช้าง โดยหัวช้างซึ่งเป็นมันสมองเปรียบได้กับระบบอภิบาลการกำกับดูแลที่เป็นจุดคานงัดสำคัญคือ กลไก กสพ. ซึ่งมีข้อเสนอจำนวนไม่น้อยที่พูดถึง กสพ. ว่าควรแสดงบทบาทให้มากขึ้น เท้าช้าง จะเดินไปอย่างไร ระบบข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจได้ถูกทาง ท้องช้างเปรียบได้กับระบบยาที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการดูแลและควบคุมมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับยา ส่วนหลังช้างเปรียบได้กับประชาชนที่ควรมีการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) หูตาปากช้าง คือเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ การเงินการคลัง ต้นทุนการจัดบริการ การจัดสรรงบประมาณที่สมเหตุสมผล และขาช้าง เปรียบได้กับฐานกำลังคน ไม่ว่าจะเป็น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข อสม. ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ภาพสุดท้ายที่พึงประสงค์คือ คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ลดลง โดยการประชุมครั้งนี้ สวรส. เปรียบเหมือนโซ่ข้อกลางระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงาน ที่ทำให้เห็นถึง 5 ช คือ ชี้ ชวน ช่วย เชื่อม ชง ชี้ประเด็นสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ชวนคิดภาพพึงประสงค์ของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ช่วยให้ข้อมูลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อมคนทำงานให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างเครือข่าย และ ชงข้อเสนอให้กับผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้เกิดการสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิที่พึงประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

รูปภาพเพิ่มเติม

แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้