4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. ผนึกภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3P Safety สู่ความปลอดภัยของผู้ป่วย-บุคลากรสาธารณสุข-ประชาชน

          สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) ผนึกภาคีสุขภาพขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และประชาชน (พ.ศ. 2567-2570) ในการประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 24 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาคีเครือข่าย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. ร่วมให้มุมมองการขับเคลื่อนตามภารกิจของแต่ละองค์กร เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี 

          ผู้อำนวยการ สวรส. กับหัวข้อ Unlock of 3P Safety by Digital Technology and Safety Research: ปลดล็อคการขับเคลื่อน 3P Safety ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและงานวิจัย ซึ่ง นพ.ศุภกิจได้ให้มุมมองต่อประเด็นดังกล่าวว่า การที่จะนำเทคโนโลยีและงานวิจัยมาสนับสนุนเรื่อง 3P Safety อาจต้องทำความเข้าใจในเส้นทางตั้งแต่การมีสุขภาพที่ดี ซึ่งการส่งเสริมป้องกันโรคเป็นเรื่องสำคัญ ไปจนถึงเมื่อเจ็บป่วย โดยที่หลายโรคถ้าสามารถคัดกรองได้เร็วก็มีโอกาสรักษาให้หายได้ ซึ่งปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งทางตรงและทางอ้อมมีบทบาทต่อการกำหนดผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ และความปลอดภัยทั้งบุคลากร ผู้ป่วย รวมถึงประชาชน ก็สามารถมีมากขึ้น หากมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม และงานวิจัยที่รองรับตั้งแต่การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความคุ้มค่า รวมถึงการใช้ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาให้ไปสู่เป้าหมายของ 3P Safety ได้มากขึ้น

          “เทคโนโลยีมีส่วนช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยตั้งแต่ประชาชนที่ยังมีสุขภาพดีไปจนถึงเมื่อเจ็บป่วย จนถึงต้องเข้ามารับบริการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น Electronic Health Records (EHR) ข้อมูลสุขภาพรวมถึงภาวะเจ็บป่วยที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว สามารถช่วยลดความผิดพลาดในการดูแลรักษา Medical AI and Robotic มีบทบาทมากขึ้นในการช่วยให้เกิดความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค Telemedicine ช่วยให้เกิดการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีอุปสรรคในเรื่องระยะทางและเวลา Precision medicine โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านโมเลกุลและรหัสพันธุกรรม ทำให้การออกแบบการป้องกัน วินิจฉัย และดูแลรักษาประชานมีความแม่นยำมากขึ้น Decision Support System มีเครื่องมือที่เป็นระบบดิจิทัลที่ช่วยให้การใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจดำเนินการกับผู้ที่มารับบริการได้ดีที่สุด Wearable Device อุปกรณ์ที่ง่ายต่อการพกพา มีขีดความสามารถมากขึ้นในการตรวจจับสัญญาณต่างๆ ของคน ช่วยให้การเฝ้าระวัง การวินิจฉัย รวมถึงการติดตามเมื่อได้รับการรักษาดีขึ้น Patient Portal to PHR ข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล หากสามารถให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงง่ายก็จะเป็นประโยชน์ และช่วยกระตุ้นให้ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงเทคโนโลยีบางส่วนที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและจับต้องได้เป็นรูปธรรม โดยสามารถนำมาใช้ในการสร้าง 3P Safety ได้” นพ.ศุภกิจ กล่าว

          ก่อนจบการแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที นพ.ศุภกิจทิ้งท้ายว่า ในการทำงานเราควรมีการคิดนอกกรอบให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองคิดว่าคู่แข่งของบริษัทไนกี้คือใคร หลายคนอาจคิดว่า ก็น่าจะเป็นบริษัทผลิตรองเท้าลักษณะเดียวกันแต่เป็นแบรนด์อื่น แต่ถ้าเราคิดนอกกรอบ คู่แข่งของบริษัทไนกี้ อาจไม่ใช่แบรนด์ที่ผลิตรองเท้าเหมือนกัน แต่อาจเป็น Netflix เพราะปัจจุบันวิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนไป Netflix เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น หลายคนชอบดูหนังมากกว่าที่จะทำกิจกรรมอื่น รวมถึงการมี Passion ในงานที่ทำ จะส่งให้เรารัก เกาะติด และพร้อมจะทำงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีความยั่งยืน

รูปภาพเพิ่มเติม
TAG :
3P Safety
aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


aYlNlfdX
08 พ.ย. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้